“แฟลชม็อบ”สุดอินดี้แบบแนวๆเมื่อใช้ในทางการเมืองโดยพรรคอนาคตใหม่

เครดิตภาพhttps://dailyhive.com

“แฟลชม็อบ” สู้ด้วยการชุมนุมทางการเมืองแบบอนาคตใหม่ ณ สกายวอล์ค แยกปทุมวัน ไปลองทำความรู้จักกับ การประท้วงแบบอินดี้ แบบแนวๆ แบบนี้ดูว่าคืออะไร?

Advertisement

เสียงจากคลิปผ่านเพจ Thanathorn Juangroongruangkit โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นัดชุมนุม หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีกู้ยืมเงินจากนายธนาธร จำนวน 191 ล้านบาท โดยใช้ชื่อการชุมนุมว่า “เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง” ที่บริเวณสกายวอล์ก สี่แยกปทุมวัน (14 ธ.ค.62) และประกาศแนวทางการชุมนุมที่จะใช้เวลาสั้นๆ เพียง 1 ชั่วโมง (โดยประมาณ)

ภาพจากแฟ้มข่าว

ซึ่งใช้รูปแบบของ “แฟลชม็อบ”  ที่เมื่อฟังชื่อแล้ว ก็อาจพอทำความเข้าใจได้คร่าวๆ ว่า เป็นการชุมนุมแบบรวดเร็ว และสลายตัวแบบรวดเร็ว ไม่ยืดเยื้อ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ คนรุ่นใหม่ ที่ถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบของการชุมนุมแสดงออกทางการเมือง

แต่ในรายละเอียดแล้ว “แฟลชม็อบ” นอกจากความเข้าใจว่าเป็นการ “เริ่มเร็วสลายเร็ว” แล้ว ยังมีรูปแบบที่น่าสนใจ และหลายคนให้คำนิยามถึงความเป็น “การชุมนุม” หรือ “ม็อบ” แบบ อินดี้ แบบ แนวๆ ซึ่งก็เป็นการชุมนุมอีกรูปแบบที่น่าไปทำความรู้จักกัน

เครดิตภาพ http://www.yuppee.com

ข้อมูลอ้างอิงจาก วิกิพีเดีย ระบุถึง “แฟลชม็อบ” โดยให้รายละเอียดไว้ว่า “แฟลชม็อบ (อังกฤษ: flash mob หรือ flashmob) คือการรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่หนึ่งอย่างฉับพลัน เพื่อแสดงสิ่งแปลกตาและดูเหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายในช่วงระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึงสลายตัว มักจะทำเพื่อจุดประสงค์การบันเทิง การล้อเลียน หรือการแสดงออกทางศิลปะ แฟลชม็อบเกิดขึ้นโดยการนัดกันผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เครือข่ายสังคม หรือการส่งอีเมลต่อ ๆ กัน

ศัพท์คำนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยทั่วไปไม่ได้ใช้กับเหตุการณ์หรือการแสดงที่จัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง (เช่น การประท้วงการโฆษณาเชิงพาณิชย์ การจัดฉากโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการว่าจ้าง กรณีถ้ามีจุดประสงค์ที่ได้วางแผนไว้เพื่อกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวจะเรียกว่า สมาร์ตม็อบ (smart mob) แทน”

ซึ่งจากข้อมูลคำอธิบาย “แฟลชม็อบ” โดยวิกิพีเดีย ที่มักไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้การชุมนุมในลักษณะนี้ทางการเมือง ก็ช่างเป็นที่น่าสนใจ เพราะ การจัดชุมนุมและเชิญชวนโดย นายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า “เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง” จะนำลักษณะของ “แฟลชม็อบ” มาใช้

เครดิตภาพ  http://bizdistricts.com

ฉะนั้น ถ้าไม่นับรวมถึงเรื่องราวการชุมนุมทางการเมือง การจัดชุมนุมที่ประกาศว่าจะเป็นลักษณะ “แฟลชม็อบ”ที่ถูกนำมาใช้ทางการเมืองจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร? นั่นเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งนัก

หลายครั้งลักษณะของ “แฟลชม็อบ” อาจเกิดขึ้นจากการรวมตัวแบบหลวมๆ ผ่านการสื่อสารทางโซเชียลออนไลน์ หลายครั้งจะเห็นเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์ และหลายๆ ครั้งจะเป็นการเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่แสดงจุดยืนรวมกันผ่านท่าทาง และส่วนหนึ่ง “แฟลชม็อบ” ก็มักถูกแสดงออกให้เป็นการสื่อสาร ซึ่งไม่มากนักที่จะเป็นการแสดงออกตรงๆ แบบการประท้วงทางการเมือง

ภาพ แฟลชม็อบในประเทศอินเดีย เครดิต https://www.indiamart.com

ยิ่งเพราะได้ชื่อว่าเป็น การชุมนุมแบบ แนวๆ แบบอินดี้ๆ แต่มักไม่ถูกใช้ทางการเมือง เมื่อต้องมาเป็น “แฟลชม็อบการเมือง” ก็น่าสนใจไม่น้อย ในที่นี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเชิญชวนเข้าไปร่วมชุมนุมแต่อย่างใด? แต่ที่ว่าน่าสนใจคือรูปแบบ ที่น่าศึกษาไว้เป็นเชิงวิชาการ หรือ อาจเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทยในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต ..