สทส. เดินหน้าสร้างการรับรู้ “พืชแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม” เชื่อมีผลบังคับใช้เพื่อประโยชน์ภาคการเกษตร

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (สทส.) ได้ทำการประชาสัมพันธ์ เรื่องการปรับแต่งจีโนมพืชเพื่อรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง” สรุปใจความว่า การผลิตพืชในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมทั้งแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีการแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชะลอและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลผลิตพืช และยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามปกติ

Advertisement

ล่าสุด สมาคมฯ ได้จัดสัมมนาวิชาการพืชแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ที่ใกล้จะนำไปใช้ประโยชน์และการกำกับดูแลสร้างการตระหนักรู้สู่สาธารณะชนโดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นวิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.ธัญญ์วนิช ธัญสิริวรรธน์จากม.เกษตร วิทยาเขตสกลนคร , ดร.ปิยนุช ศรชัย สทช.กรมวิชาการเกษตร , ผศ.ดร.อนงค์ภัทรสุทธางคกูล .เกษตรศาสตร์ บางเขน , ดร.พงศกร สรรค์วิทยากุล สทช.กรมวิชาการเกษตร , ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผอ.สทช.กรมวิชาการเกษตรดำเนินรายการโดยทนายวิชา ธิติประเสริฐ อดีตผอ.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯโดยมี ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิตนายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ กล่าวเปิดงาน

ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ กล่าวว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหนี่ยวนำการกลายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต ไม่มีการถ่ายฝากสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่น มีความปลอดภัยและความแม่นยำสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากพืชแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ซึ่งการจัดสัมมนาทางวิชาการในวันนี้ เป็นการจัดครั้งแรกของปี .. 2568 สมาคมได้ใช้หัวข้อว่าพืชแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ที่ใกล้จะนำไปใช้ประโยชน์และการกำกับดูแล โดยมีเป้าประสงค์เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของสาธารณะชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนมและประโยชน์ที่จะได้รับ โดยการเผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชด้วยเทคนิคการแก้ไข/ปรับแต่งยีน/จีโนม ที่ใกล้จะนำมาใช้ประโยชน์และรวมทั้งการขอรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนมเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร .. 2567 ซึ่งจะเป็นเครื่องมือยืนยันให้สาธารณะชนได้รับทราบว่า พืชดังกล่าวไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ

สำหรับผลงานวิจัยที่นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ประกอบด้วย

1. พันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดกราโฟไลด์สูง พัฒนาโดย ผศ.ดร. อนงค์ภัทร สุทธางคกูลและคณะ จากภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. พันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคเหี่ยวเหลืองพัฒนาโดย ผศ. ดร.ธัญญ์วนิช ธัญสิริวรรธน์และคณะ จากภาควิชาเกษตรและทรัพยากรคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

3. พันธุ์มะละกอที่ต้านทานไวรัสจุดวงแหวนพัฒนาโดย ดร.ปิยนุช ศรชัย และคณะ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

4. พันธุ์สับปะรดที่ป้องกันอาการไส้สีน้ำตาลพัฒนาโดย ดร.พงศกร สรรค์วิทยากุล และคณะสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

5. การเปลี่ยนสีดอกพิทูเนีย พัฒนาโดย ดร. ยี่โถ ทัพภะทัต และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

6. การขอรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนมเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร .. 2567 โดย ดร.ปิยรัตน์ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

โอกาสนี้ นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม มีศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีลักษณะตามต้องการไม่ว่าจะเป็น ลักษณะต้านทานโรคพืช ได้แก่ โรคเหี่ยวเหลืองในมะเขือเทศ และโรคจุดวงแหวนในมะละกอ ลักษณะทางคุณภาพ ได้แก่สับปะรดที่ป้องกันอาการไส้สีน้ำตาล ลักษณะองค์ประกอบของสารสำคัญ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจรที่มีกลุ่มสารแอนโดกราโฟไลด์สูง และลักษณะสีดอกของต้นพิทูเนีย

โดยพืชที่ผ่านการปรับแต่งจีโนมสามารถขอรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร จากกรมวิชาการเกษตรเพื่อรับรองว่าไม่เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทางสมาคมฯ มุ่งมั่นและพร้อมที่จะดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ พี่น้องเกษตรกร เพื่อนำพาภาคเกษตรไทยไปสู่ ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลกควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรไทย ภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ที่เป็นนโยบายสำคัญของ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์