“ไทยยูเนี่ยน”ยักษ์ใหญ่ใหญ่อาหารทะเลไทยยันตัดสิทธิ GSPไม่กระทบธุรกิจ

“ไทยยูเนี่ยน” ยักษ์ใหญ่อาหารทะเลส่งออกสหรัฐยืนยันตัดสิทธิ GSP ไม่กระทบ โชว์ยอดขายโตต่อเนื่อง พร้อมยืนยัน พ้นมลทิน ข้อกล่าวหาว่าทำธุรกิจกับการประมงที่ผิดกฎหมายหรือไอยูยู

Advertisement

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าไทยยูเนี่ยนยังได้ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับการดำเนินงานของบริษัทฯ หลังจากที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐฯ หลายรายการ  นอกจากนี้บริษัท จอห์น เวสต์ ฟู้ดส์ จำกัด บริษัทในเครือ ยังได้ประกาศว่า ศาลได้ตัดสินให้บริษัทไม่มีความผิดใดๆ ในข้อกล่าวหาว่าทำธุรกิจกับการประมงที่ผิดกฎหมายหรือไอยูยู (IUU) คำตัดสินเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นอย่างดีว่าไทยยูเนี่ยนยึดมั่นในนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน)

“ผลิตภัณฑ์ที่หลายหลายของเราได้กระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการขายของเราเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3  อย่างไรก็ดี ตลาดสกุลเงินที่ผันผวนทำให้สินค้าส่งของจากประเทศไทยต้องเจอกับสภาวะความท้าทาย  ไทยยูเนี่ยนยังคงให้ความสำคัญกับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เล็งผลถึงการเติบโตในระยะยาว และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อลดแรงกดดันในแง่ของการทำกำไร”

รายงานยอดขายในช่วงไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 31,838 ล้านบาท  หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแล้ว ยอดขายประจำไตรมาสลดลง 1.3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า แต่ปริมาณการขายของบริษัทยังเข้มแข็งและเติบโตอยู่ที่ 3.8 เปอร์เซ็นต์ จากธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งและแช่เย็นและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

กำไรขั้นต้นประจำไตรมาสอยู่ที่ 5,077 ล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 15.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 15.8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกับในปีก่อนหน้า ผลการดำเนินงานเก้าเดือนแรกของปีมีกำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 4.2 พันล้านบาท และความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้น  ท่ามกลางความผันผวนของค่าเงิน

ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2562  ยอดขายจากทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนถึง 38 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายจากทวีปยุโรป 31 เปอร์เซ็นต์ ยอดขายจากประเทศไทย 13 เปอร์เซ็นต์ และตลาดอื่นๆ 18 เปอร์เซ็นต์

แม้ปริมาณการขายที่เติบโตถึง 3.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ไทยยูเนี่ยนรายงานยอดขาย อยู่ที่ 31,838 ล้านบาท ซึ่งลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินสกุลหลักๆ ในการค้าได้แก่ เหรียญสหรัฐลดลง 6.9 เปอร์เซ็นต์  ปอนด์ลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ และยูโรลดลง 11 เปอร์เซ็นต์

สัดส่วนของยอดขายในเก้าเดือนแรกของปีนี้ เป็นสินค้าแบรนด์ของบริษัท 42 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า และที่เหลือ 58 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตสินค้าให้กับลูกค้าบริษัทต่างๆ

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปมียอดขายอยู่ที่ 14,466 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากราคาทูน่าที่ลดลง 17 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สามของปี 2561 และค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการค้าของโลก

ส่วนธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งและแช่เย็นมีปริมาณการขายอยู่ที่ 73,084 ตันในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นถึง 15.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดี ด้วยราคาของกุ้งที่ลดลง 9.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ยอดขายของธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งและแช่เย็นลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 12,768 ล้านบาท แต่อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น   ในขณะที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่ามียอดขายเพิ่มขึ้น 6.9 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 4,604 ล้านบาท อีกทั้งปริมาณการขายยังเติบโตขึ้นอีก 2.6 เปอร์เซ็นต์