ยังคงเป็นปมปัญหา “หนักอก” สำหรับการส่งออก “ทุเรียนไทยไปจีน” …!!!?? เพราะพลันที่ “จีน” ปฏิเสธการนำเข้าทุเรียนไทยอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะพบสารปนเปื้อนแคดเมียม และ “Basic Yellow 2” หรือที่เรียกันย่อ BY2
ถึงขั้น สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) บังคับให้ “ทุเรียนไทยทุกล็อต” ที่นำเข้าประเทศจีนทุกด่าน จะต้องมีใบรับรอง (test report) และได้แจ้งมายังรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา ทำให้บรรดโรงคัดบรรจุ (ล้ง) หลายแห่งได้ประกาศหยุดรับซื้อทุเรียนที่จะส่งออกไปจีนเป็นการชั่วคราวทันทีเช่นกัน
มีรายงานระบุตัวเลขว่า ในปี 2567 ทุเรียน มีปริมาณการส่งออก 859,183 ตัน มูลค่า 3,755.7 ล้านดอลลาร์ หรือ 134,852 ล้านบาท มีสัดส่วนถึง 72.9% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย มีตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สัดส่วน 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทย ฮ่องกง 1.3% เกาหลีใต้ 0.3% มาเลเซีย 0.2% สหรัฐอเมริกา 0.2%
และนั่น ย่อมทำหมายถึงเม็ดเงินจากการส่งออกมูลค่าสูงถึง “กว่า 1.3 แสนล้านบาท” ย่อมสะดุดลงอย่างไม่ต้องสงสัย …
เดือดร้อนแน่ คือ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน !!!
ไหนจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งใบรับรองเพิ่มขึ้นแล้ว
แถมยังจะต้องมารอลุ้นด้วยใจระทึกอีกด้วยว่า ทางการจีน โดย GACC จะไฟเขียวใบรับรองของเอกชนไทยหรือไม่ !!!???
โดยเมื่อกลางเดือนมกราคม 2568 ภายหลังจีนปฏิเสธการนำเข้าทุเรียนไทยไม่กี่วัน นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบัน ไทยยังไม่มีแล็ปที่สามารถตรวจผลสาร BY2 ได้
แต่ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2568 รัฐบาล โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศให้สามารถใช้ห้องปฏิบัติการทดสอบสารแคดเมียมและ BY2 ได้แล้วถึง 13 แห่ง แต่จะพอเพียงต่อปริมาณของทุเรียนที่จะออกมาสู่ตลาดหรือไม่นั้น คงต้องรอดูกันต่อไปในช่วงฤดูกาลมาถึง
แต่ก็เป็นเรื่องขึ้นมาทันที เมื่อบริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นสาขาของรัฐวิสาหกิจกลาง China Certification & Inspection Group ในประเทศไทย เสนอตัวต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ขอเข้าทำหน้าที่นำรูปแบบควบคุมคุณภาพ “การตรวจสอบก่อนส่งออก + การสืบสอบย้อนแหล่งที่มา” (Pre-shipment Inspection + Traceability) เป็นระบบที่บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จํากัด ได้พัฒนาขึ้นมา นำมาใช้กับการตรวจสอบทุเรียนไทยก่อนส่งเข้าจีน เมื่อปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
ซี ซี ไอ ซี ระบุว่า การออกรายงานการควบคุมคุณภาพและแจ้งข้อมูลแก่ศุลกากรจีนของบริษัทฯ จะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจในความปลอดภัยของทุเรียนไทยตรงตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จีน
จะว่าไปแล้ว นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกของผู้ส่งออกทุเรียนไทย ….. ที่ตอบคำถามข้างต้นที่ว่า ต้องรอลุ้นด้วยใจระทึกอีกด้วยว่า ทางการจีน โดย GACC จะไฟเขียวใบรับรองของเอกชนไทยหรือไม่ ได้เป็นอย่างดี !!!??
เป็นทางเลือกที่ควรเป็นสิทธิ์ของผู้ประกอบการส่งออกและเกษตรกรปลูกทุเรียนของไทย ที่จะเลือกส่งไปตรวจสอบที่ใดด้วยความมั่นใจ …เพราะพวกเขาคือคนเสี่ยงต่อการเป็นผู้สูญเสีย!!!
มิใช่ความเสี่ยงของใครบางคน บางกลุ่ม ที่ออกมาป่าวร้อง ด้วยข้อมูลเท็จต่อการทำงานของ “ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย)”
ที่สำคัญ …. มันไม่ใช่การช่วยเหลือให้การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนมูลค่าแสนล้านเป็นไปอย่างราบรื่น !!!
แต่มันตรงกันข้าม เพราะนี่อาจคือการตีกัน ตีกินแบบลวกๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องในกลุ่มเท่านั้น !!!!
ทันควัน บริษัท China Certification & Inspection Group (CCIC) รัฐวิสาหกิจภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับดูแลทรัพย์สินของรัฐแห่งประเทศจีน (SASAC) ได้ส่งคำชี้แจงมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ยืนยันว่า ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) เป็นบริษัทย่อยในประเทศไทยของกลุ่มบริษัท CCIC จีน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1987
มีภารกิจหลักในการให้บริการตรวจสอบและทดสอบผลิตผลทางการเกษตร บริษัทมีห้องปฏิบัติการที่สามารถดําเนินการทดสอบทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร รวมถึงการตรวจสอบสารปนเปื้อนของโลหะหนักและสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ตลอดจนการทดสอบแร่และถ่านหิน
นอกจากนี้ มีรายงานระบุถึงประสิทธิภาพของการตรวจสอบด้วยว่า แม้จะมีถึง 13 บริษัท แต่ก็สามารถรองรับการทดสอบกลุ่มตัวอย่างได้ 3,000 ตัวอย่างต่อวัน ขณะที่ปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยมีมากถึง 859,183 ตัน ยิ่งเข้าสู่ช่วงฤดูกาลด้วยแล้ว การตรวจสอบจะสามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด จึงเป็นปัญหาอีกด้านหนึ่งของการมีห้องตรวจสอบที่เพียงพอ
ที่ว่า …. สงครามหนาม เดิมพันเป็นแสนล้าน ย่อมหอมหวานเสมอ ใครๆ ก็อยากมีส่วนร่วม ของใครบางคน ต้องระวัง ..!!!!
เพราะเมื่อปล่อยข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพ์ ย่อมมีควมความผิคทางอาญานะครับ ……นี่คือการเตือนครั้งสุดท้าย