PM 2.5 ในกทม.พุ่งสูงอันดับ 3 ของโลก!! หลอนซ้ำโควิด -19 ส่งผลกระทบสุขภาพเต็มๆ

ภาพประกอบข่าวจากแฟ้ม

หลอนซ้ำโควิด PM 2.5 กรรมเก่าชาวกรุงพุ่งทะยานติดอันดับโลก 66 พื้นที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ไหนยังไง? ไปเช็คด่วนๆ เลย

Advertisement

ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร  ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 42-102 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เป็นอันดับ 3 ของโลก เทียบกับเมื่อวานนี้ (15 ธ.ค.63) อยู่อันดับ 6 พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 66 พื้นที่ ประกอบด้วย

  1. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 102 มคก./ลบ.ม.
    2. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 99 มคก./ลบ.ม.
    3. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 94 มคก./ลบ.ม.
    4. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ: มีค่าเท่ากับ 93 มคก./ลบ.ม.
    5. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 93 มคก./ลบ.ม.
    6. เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
    7. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
    8. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
    9. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
    10. สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
    11. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา: มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม.
    12. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม.
    13. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม.
    14. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 86 มคก./ลบ.ม.
    15. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.                                                                                                                    16. เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
    17. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง: มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.
    18. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.
    19. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม.
    20. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม.
    21. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
    22. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
    23. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
    24. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
    25. เขตทวีวัฒนา บริเวณทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
    26. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
    27. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
    28. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
    29. เขตบางคอแหลม แขวงบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.
    30. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.
    31. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต: มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.
    32. เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง: มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
    33. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง: มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
    34. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
    35. เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
    36. เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
    37. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
    38. เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
    39. เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants): มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
    40. เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
    41. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
    42. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.43. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
    44. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
    45. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
    46. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
    47. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
    48. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
    49. สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.50. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
    51. อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
    52. เขตราษฎร์บูรณะ ายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ: มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
    53. เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
    54. สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
    55. สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
    56. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
    57. เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
    58. สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
    59 .สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
    60. สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
    61. สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
    62. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
    63. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
    64. สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
    65. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
    66. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
    อย่างไรก็ตาม ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพของประชาชน พร้อมๆ กับ ความกังวลทั้งในเรื่องของสภาพมลภาวะทางอากาศ และสถานการณ์โควิด -19 ของชาวเมืองหลวงไปพร้อมๆ กัน

    นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ในช่วงนี้ จนถึงวันที่ 17 ธันวาคม จะมีสภาพอากาศปิดและกดทับทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้มีการประสานงานกับกรมควบคุมมลพิษและกรมอุตุนิยมวิทยา

    พร้อมขอความร่วมมือให้ประชาชนงดการเผาตอซังทางการเกษตร และประสานกระทรวงคมนาคม กวดขันการตรวจสภาพรถยนต์ที่มีการเผาไหม้ไอเสีย เกินค่ามาตรฐาน จากการตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกรับจ้างส่วนบุคคลถึงร้อยละ 25-30 โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการสั่งการห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5
    ทั้งนี้ นายวราวุธ ยังขอความร่วมมือประชาชน ในการร่วมกันออกนโยบาย ว่าสิ่งใดประชาชนรับได้หรือเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหาฝุ่นละอองส่วนหนึ่งมาจากรถยนต์ที่มีอยู่จำนวนมาก โดยหากสังเกตจากในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จากการล็อกดาวน์ประเทศจะพบว่าสภาพอากาศนั้นดีขึ้น เนื่องจากปริมาณรถบนท้องถนนนั้นลดลง และขอให้ประชาชนดูแลตนเองรักษาสุขภาพ และสวมหน้ากากอนามัย หลังจากนี้จะมีการเพิ่มมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจะต้องไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของประชาชน