สำรวจถนนเจออุทกภัย! ที่ไหนยังไงบ้าง? กับกรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์อุทกภัย ที่ไหนไปได้? ไม่ได้? ลองเช็คดู

Advertisement

กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักบำรุงทาง รายงานสถานการณ์ปัจจุบันว่าขณะนี้มีถนนทางหลวงชนบทที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 8 สายทาง ใน 3 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และนครพนม โดยสามารถสัญจรผ่านได้ 4 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 4 สายทาง ดังนี้

– ทางหลวงชนบท มส.3017 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 – บ้านสบโขง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กม.ที่41+500 – 41+900) สามารถสัญจรผ่านได้

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.3046 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106-บ้านริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (กม.ที่ 8+000-8+025) สามารถสัญจรผ่านได้

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.3065 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 – บ้านหนองสาหร่าย อำเภอบ้านแพง,ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (กม.ที่ 2+200 – 3+300) ระดับน้ำท่วม 47 เซนติเมตร (กม.ที่ 4+638-4+668) ระดับน้ำท่วม 14 เซนติเมตร (กม.ที่ 7+300 – 7+350) ระดับน้ำท่วม 67 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้)

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.4059 แยกทางหลวงชนบทสาย 2032 – บ้านไทยสบาย อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (กม.ที่ 9+850 – 10+025) ระดับน้ำท่วม 61 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้)

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.4061 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2417-บ้านข่า อำเภอนาทม,ศรีสงคราม,อากาศอำนวย (กม.ที่ 6+400-8+500) ระดับน้ำท่วม 53 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้)

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.3042 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212-บ้านคำสะอาด อำเภอท่าอุเทน,ศรีสงคราม (กม.ที่ 3+700 – 5+850) ระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้)

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.4017 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2390-บ้านหนองเทา อำเภอศรีสงคราม,ท่าอุเทน (กม.ที่ 3+500-3+600,4+090-4+350,4+550-4+654) ระดับน้ำท่วม 4-14 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้)

– ทางหลวงชนบทสาย นพ.4067 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2028-บ้านหนองปลาดุก อำเภอโพนสวรรค์,เมือง (กม.ที่ 0+450 – 0+750) ระดับน้ำท่วม 10 เซนติเมตร (กม.ที่ 5+650 – 5+950) ระดับน้ำท่วม 12 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้)

ทั้งนี้ หน่วยงานในพื้นที่ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และติดตั้งป้ายเตือนประชาชนในการสัญจรด้วยความระมัดระวังแล้ว นอกจากนี้ทุกหน่วยได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ สะพานเบลีย์

พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดภัย รวมถึง ป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทางเลี่ยง เพื่ออำนวย

ความสะดวกให้แก่ประชาชนและได้จัดทำแนวทางในการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงดินถล่มบริเวณไหล่เขา

พื้นที่เสี่ยงถนนทรุดตัว และพื้นที่เสี่ยงคอสะพานขาดแล้ว โดยจะนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนดำเนินการ ป้องกัน

และแก้ไขปัญหาต่อไป