EEC เดินหน้ายกระดับ “อู่ตะเภา”สู่เมืองการบินภาคตะวันออก

วันนี้ (19 ก.พ.61) เวลา 09.00 น.ณ ห้องเมแฟร์ บอลรูม เอ ชั้น 11 โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นประธานเปิดโครงการศึกษาเมืองการบินภาคตะวันออกและจัดทำแผนงานเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก (Strategic Roadmap for the EEC Aerotropolis)เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการและแนวคิดเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองการบินในการเสริมศักยภาพให้พื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค

Advertisement

โดยมี Dr.John D. Kasarda ที่ปรึกษาด้านการบินและผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองการบินร่วมบรรยายพิเศษ และมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศเข้าร่วมงาน

ดร.คณิศ กล่าวว่ารัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ดำเนินโครงการศึกษาเมืองการบินภาคตะวันออกและจัดทำแผนงานเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก (Strategic Roadmap for the EEC Aerotropolis)เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออกหรือ EEC Aerotropolisซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาพื้นที่โดยมีสนามบินเป็นศูนย์กลาง ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้สะดวก รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นที่ความรวดเร็ว ความคล่องตัวทั้งในการเดินทางและขนส่งสินค้า และการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ การจัดงานในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเมืองการบินภาคตะวันออกจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมศักยภาพในการพัฒนา(EEC) และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย

ภายในงานที่ปรึกษาโครงการซึ่งได้แก่ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด และ สถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการนำเสนอวิสัยทัศน์ ศักยภาพและยุทธศาสตร์แห่งการเป็นเมืองการบินภาคตะวันออกโดย Dr.John D. Kasarda ที่ปรึกษาด้านการบินและผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองการบินระดับโลกระบุว่า

“พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุด ในการพัฒนาเป็น EEC Aerotropolis of Thailand เพราะมีท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ที่มีความพร้อมในด้านต่างๆโดยมีแนวคิดการพัฒนา ตามขอบเขตพื้นที่ ดังนี้ 1.Airport Cityคือ พื้นที่ในเขตเมืองสนามบินขนาดประมาณ 6,500 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ย่าน อุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ เขตการค้าเสรี 2.Inner Aerotropolisคือ พื้นที่โดยรอบสนามบินชั้นใน มีรัศมีครอบคลุมพื้นที่โดยรอบห่างจากสนามบินประมาณ 10 กม. ที่จะแบ่งโซนการพัฒนารองรับเมืองการบิน 3.Outer Aerotropolisคือ พื้นที่โดยรอบสนามบินชั้นนอกครอบคลุม 3 จังหวัดในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่เชื่อมโยงการพัฒนาตามแนวระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งหลัก ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ธุรกิจ และอุตสาหกรรม”

จากนั้น ดร. จริยา บุณยะประภัศร ผู้จัดการโครงการได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการศึกษาเมืองการบินภาคตะวันออกและจัดทำแผนงานเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกว่า การพัฒนาจะเป็นการขยาย จากเมืองเดิม และเมืองที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมและโลจิสติกส์รองรับประชากรที่ทำงานในเมืองสนามบินและพื้นที่อุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้า การบริการ และการท่องเที่ยว ตามแนวระเบียงพัฒนาเมืองการบิน (Aerotropolis Corridor) ประกอบด้วย แนวระเบียงอุตสาหกรรม S-Curve และโลจิสติกส์ (S-Curve Industrial &Logistics Corridor) และแนวระเบียงการพัฒนาเมือง ธุรกิจ บริการ และการท่องเที่ยว (Tourism, Business Services & Urban Development Corridor) โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ยกระดับการสร้างมูลค่าเพิ่มของห่วงโซ่อุปทาน
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Moving up the Value Chain) ยกระดับคุณภาพแรงงาน , พัฒนาบริการ ของเมืองท่องเที่ยวให้น่าอยู่ น่าดึงดูด และยั่งยืน , และพัฒนาระบบสาธารณูปโภค

เมืองการบินภาคตะวันออกจะนำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้ สนับสนุนการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับนานาประเทศด้วย

EEC Committee Embarks on Developing U-Tapao Airport into EEC Aerotropolis