ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์แนะเคล็ด..”นอนอย่างไรให้สุขภาพดี”กับที่นอน “ซินด้า”

ที่นอนซินด้าหนึ่งในผู้นำผลิตภัณฑ์ที่นอนเพื่อสุขภาพในไทย ที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า  22 ปี     ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่ในการค้นหาที่นอนที่ใช่   ล่าสุดเปิดตัว ห้องทดลองนอน  “SYNDA SLEEP CABIN”   เพื่อตอบโจทย์ในการค้นหาที่นอนที่ ใช่  ในห้องทดลองนอนที่มีบรรยากาศผ่อนคลายและเป็นส่วนตัว โดยภายในงานมีผู้บริหารบริษัท ซินด้า ประเทศไทย   และ  Physical Therapist ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์    มาร่วมแนะเคล็ดลับการนอนให้สุขภาพดี   ภายในงานอีกด้วย   ณ  เอสบี ดีไซน์ สแควร์   สาขาราชพฤกษ์  

Advertisement

น.ส. วราภรณ์   จารึกวงศ์สวัสดิ์   ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด  (Sales&Marketing Director )  บริษัท     ซินด้า (ประเทศไทย) จำกัด   กล่าวว่า “ด้วยประสบการณมากกว่า 22 ปี ที่ ซินด้า เป็นผู้นำนวัตกรรมที่นอนจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการนอนและคุณภาพชีวิตให้กับลูกค้าที่นอนซินด้าทุกท่าน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราให้คำแนะนำลูกค้าของเราเสมอว่า ที่นอนที่ดีที่สุด ไม่ใช่ ที่นอนที่แพงที่สุด แต่เป็นที่นอนที่คุณรู้สึกนอนหลับได้อย่างสบายที่สุดตลอดทั้งคืน ดังนั้น เราจึงตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งของช่วงเวลาในการทดลองนอน เพื่อเลือกที่นอนที่”ใช่” ที่สุดสำหรับแต่ละท่าน    เราจึงได้นำเข้า SYNDA SLEEP CABIN เพื่อให้ทุกท่านที่มาทดลองนอนบนที่นอนของซินด้ามีความรู้สึกเป็นส่วนตัว ผ่อนคลาย และไม่ต้องกังวลกับผู้คนมากมายที่เดินผ่านไปมาในขณะที่กำลังทดลองนอน เพื่อค้นหา ที่นอนที่ ใช่ ที่สุดของลูกค้าแต่ละท่าน   ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกที่นอนรุ่นใดรุ่นหนึ่งกลับไป     เพราะเรารู้ดีว่า 1 ใน 3 ของชีวิตทุกคนนั้นใช้อยู่บนที่นอน ดังนั้นการซื้อที่นอนเปรียบเสมือนการลงทุนครั้งสำคัญของชีวิต และถ้าเราช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญของเราสามารถเลือกที่นอนที่ ดีที่สุดสำหรับเขาได้ ก็จะเพิ่มความสุขให้กับชีวิตของลูกค้าเราได้เช่นกันโดยที่นอนที่อยู่ในห้อง SYNDA SLEEP CABIN เป็นที่นอนนวัตกรรม ล่าสุด ที่เรียกได้ว่าเป็น the3 rd Generation of Memory Foam ที่ผสานนวัตกรรม C Curve Cooling Gel Memory Foam

เพื่อมอบความผ่อนคลายราวกับการทำ Spa and Massage ให้คุณในขณะที่คุณนอนหลับ ทั้งยังมี 7 Zone Memory Foam ที่สามารถรองรับสรีระแต่ละส่วนที่มีน้ำหนักแตกต่างกันได้อย่สมบูรณ์แบบ เพื่อยกระดับคุณภาพในการนอนของคุณ ด้วยการมอบคุณภาพการนอนในระดับ Deep Sleep ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยห้อง “ SYNDA SLEEP CABIN”  นี้       มีขนาด 120 x 220 x 150  ตั้งอยู่ที่   เอสบีดีไซน์ สแควร์  สาขาราชพฤกษ์ ในวันที่12 ม.ค  -18 ก.พ. 61  และมีกำหนดการจะไปตั้งที่ เอสบี ดีไซนสแควร์ สาขาบางนา  และ เอสบีดีไซน์ สแควร์ สาขาเวสต์เกต  ในวันที่ 1-18 ก.พ. 61   ผู้สนใจสามารถเข้าไปทดลองนอนได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น.  นอกจากนั้นเรายังมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอีกด้วย    หากคุณลูกค้าประทับใจที่นอนรุ่นนี้ ทางซินด้า มอบส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งยังร่วมCampaign ที่นอนเก่ามีค่ามาแลกที่นอนใหม่ ได้รับส่วนลดเพิ่มได้อีก 10%เลยทีเดียว    ผู้สนใจอยากทราบแคมเปญดี ๆ สามารถติดต่อได้ที่ Facebook: syndasleepcare ,Line: @syndasleepcare  ,Instragram: syndasleepcare 

น.ส. วราภรณ์   จารึกวงศ์สวัสดิ์   ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด  (Sales&Marketing Director )  บริษัท     ซินด้า (ประเทศไทย) จำกัด (ขวา) และPhysical Therapist ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์  คุณณัฐธิดา โชติวิทยพร (ซ้าย)

ทางด้าน Physical Therapist ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์  คุณณัฐธิดา โชติวิทยพร    กล่าวว่า  “พฤติกรรมการนอนของแต่ละคนจะสามารถแบ่งได้ตามท่านอนที่แต่ละคนคุ้นเคย เช่น ชอบนอนตะแคง นอนหงาย หรือ นอนคว่ำ หากใครที่ชองนอนตะแคง มักจะมีปัญหา ปวดชาที่ต้นแขน เนื่องจากถูกกดทับขณะที่นอนหลับเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรเลือกที่นอนที่มีความนุ่ม หรือ สามารถกระจายแรงกดทับได้ดี ก็จะช่วยให้นอนหลับได้สนิท และอาการปวดชาต่างๆก็จะหายไปได้ด้วยค่ะ

ส่วนคนที่ชองนอนหงาย ที่นอนจะมีความสำคัญมากๆ เพราะจะต้องสามารถรองรับกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ไม่ทำให้กระดูกสันหลังงอเป็นแอ่งกระทะ หรือ แข็งเกินไป จนเกิดช่องว่างระหว่างช่วงเอว และ ทีนอน อันนี้ต้องลองสังเกต เวลานอนกันดูว่า ถ้านอนแล้ว สามารถเอามือสอดเข้าไประหว่างช่วงเอวกับที่นอนได้ แสดงว่าที่นอนไม่สามารถรองรับสรีระได้ดีพอ จะทำให้เกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อหลังส่วนบน และ สะโพก ทำให้เกิดเป็นอาการปวดหลังได้ค่ะ และส่วนคนที่ชอบนอนคว่ำ จริงๆแล้ว ท่านอนคว่ำ เป็นท่าที่ทางการแพทย์ ไม่แนะนำเลย เพราะเป็นท่าทีจะกดทับช่วงหน้าอก ทำให้หายใจไม่สะดวกและ เป็นท่านอนที่ทำให้กระดูกสันหลังโค้งเป็นแอ่งกระทะด้วยนะคะ

คุณณัฐธิดากล่าวต่อ “จริงแล้วๆ จะดูว่าเราพักผ่อนได้เพียงพอไหม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนเท่านั้นนะคะ แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่เราหลับลึก หรือที่เรียกว่า Deep Sleep นั่นเองค่ะ เพราะโดยทางการแพทย์แล้วเราจะแบ่งช่วงในการนอนออกเป็น 2 ช่วง คือช่วง REM

และ NON-REM หรือ Deep Sleep  ช่วง REM เป็นช่วยที่เราเพิ่งเริ่มนอนหลับ สังเกตได้จากการยังเห็นลูกตากรอกไปกรอกมา ในขณะที่เราหลับตาอยู่ และ ช่วง NON-REM หรือ Deep Sleep  คือช่วงที่เรา นอนหลับได้สนิท เป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนต่างๆมาเพื่อ ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งเป็นช่วงที่เราได้พักผ่อนอย่างแท้จริง ซึ่งตามหลักการแล้ว คนเราควรมีช่วงเวลา Deep Sleep อย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูอย่างเต็มที่ การจะเพิ่มชั่วโมง Deep Sleep ในการนอน หรือที่เรียกว่าเพิ่มคุณภาพในการนอนนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ เวลาที่นอนนั้นต้องรู้สึกว่านอนหลับสบาย และ ผ่อนคลาย เพราะหากที่นอนที่คุณนอนอยู่นั้นรู้สึกไม่สบายเท่าที่ควร หรือ รองรับสรีระได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยและพลิกตัวในระหว่างที่คุณนอนอยู่บ่อยขึ้น และการพลิกตัวในขณะที่นอนหลับนั้นจะเป็นการรบกวนชั่วโมงของการนอนแบบ Deep Sleep หรือที่เรียกว่า การตื่นช่วงสั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกว่านอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุด คือ การเลือกที่นอนที่คุณนอนแล้วรู้สึกสบาย และ สามารถรองรับสรีระได้ดี ก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนได้ค่ะ”  คุณณัฐธิดา  กล่าวทิ้งท้าย