รองนายกฯ สมคิด ประกาศแผนปี 61 พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย ช่วยคนรายได้น้อย ปฏิรูปเกษตร หนุนเอสเอ็มอี-เขตอุตสาหกรรม (eec) เร่งเดินหน้าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยสู่ยุคดิจิตอล
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา “พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สู่ยุคดิจิตอล” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ นับว่าสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง เมื่ออาเซียนกลายเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงเงินลงทุนจากต่างชาติ และกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนในเอเชีย ทุกสายตาของนักลงทุนจึงหันมองมายังอาเชียและไทยมากที่สสุด ขณะที่จีดีพีของไทยขยายเพิ่มต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ร้อยละ 4.3 และคาดว่าไตรมาส 4 ขยายตัวใกล้เคียงร้อยละ 4.5-5 เฉลี่ยทั้งปีจีดีพีเติบโตมากกว่าร้อยละ 4 เมื่อปัจจัยพื้นฐานทั้งอัตราเงินเฟ้อต่ำไม่ถึงร้อยละ 1 อัตราดอกเบี้ยต่ำ หนี้สินต่อจีดีพีร้อยละ 42 แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นสูงสุดในรอบ 35 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม สูงสุดในรอบ 22 เดือน ปัจจัยเหล่านี้ จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในประเทศ
นโยบายการพัฒนาด้านเศษฐกิจในปี 61 จึงต้องช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก การปฏิรูปภาคเกษตรให้เข้มแข็ง เดินหน้าพัมนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงรถไฟทางคู่ การสร้างถนนเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง นำสินค้าชุมชนวางขาย เพื่อให้ชนบทแข็งแรง รวมทั้งต้องเดินนหน้าการปฏิรูปการเกษตรอย่างจริงจัง ต้องให้เกษตรมีระดับความเสี่ยงต่ำ เพาะปลูกแบบกลุ่มชุมชน โดยคนรุ่นใหม่มาชักชวน การสร้างลานตาก ยุ้งฉาง ไซโลเก็บสตอกสินค้า พัฒนาให้ค้าขายผ่านออนไลน์ จึงต้องรวบวมบุคคลมาเป็นแกนนำแนะนำชุมชน เพื่อปลูกพืชแนวใหม่ โดย กระทรวงเกษตรฯร่วมกับ ธ.ก.ส.หาเมล็ดพันธุ์ กระทรวงพาณิชย์เตรียมตลาดวางแผนระยะยาว ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯกำลังจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
สำหรับมาตรการช่วยเหลือรายย่อยต้องการให้มีอยู่ได้พอสมควร พัฒนาด้านการเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับอาชีพ รวมกลุ่มเกษตรกร คนไม่อยากทำเกษตรช่วยเหลือผ่านแบงก์รัฐ ธ.ก.ส. ออมสิน จึงออกเฟส 2 ช่วยเหลือ การเติมเงินให้รายย่อยต้องมาเข้าโปรแกรมผ่านเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ใช่รับเงินเพียงอย่างเดียว จะมีหมอ ลงพื้นที่สอบถามต้องการทำอาชีพเสริม เลี้ยงปลา อาชีพอื่น หากไม่เข้ามาพัฒนาจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่ม และการเปิดให้เอกชนมารับจ้างทำงาน ช่วยฝึกอบรม หักลดหย่อนภาษีได้ และอนาคตต้องการให้เอกชนทำซีเอสอาร์หักลดหย่อนช่วยเหลือได้มากขึ้น เมื่อเริ่มต้นแล้ว อนาคตจะเป็นแบบอย่างกับหลายประเทศ
การทำธุรกิจยุคใหม่ของทุกภาคส่วนเร่ิมขยับตามเทคโนฯ สมัยใหม่ซื้อขายผ่านออนไลน์ แม้แต่สถาบันการเงินยังต้องปรับบทบาทบริการทางการเงินผ่านแอ็บพลิเคชั่น QRcode จึงต้องการหนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หากไม่พัฒนาไทยจะกลายเป็นเหมือนแอฟฟริกา การพัฒนาด้าน IOT ( Internet Of Think ) ต้องกระจายไปยังทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงพาณิชย์ ต้องพัฒนาระบบให้รายย่อยสั่งซื้อของจากหลายจังหวัดมาจำหน่ายส่งผ่าน บ.ไปรษณีย์ไทย เพื่อต้องการเปลี่ยนโชว์ห่วยให้เป็นเครื่องมือกระจายสินค้าชุมชนและส่งไปยังพื้นที่อื่น เหมือนเป็นจุดกระจายสินค้า โดยมี กสท โทรคมนาคม ทีโอที และบริษัทด้านไอทีต่างชาติมาช่วยเหลือ เพื่อเปลี่ยนระบบทั้งประเทศด้านไอที ผ่านกระทรวงดิจิตอล กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตฯ ก.พาณิชย์ ดังนั้นบุคคลต้องพัฒนาตนเอง หากใครอบรมพัฒนาตนเอง จะให้นำค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีได้ในการเข้าสู่ยุคดิจิตอล เพื่อพัฒนากำลังแรงงานคุณภาพ
รวมทั้งรัฐบาลต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับรองรับเปลี่ยนแปลงด้านดิจิตอลที่มีอุปสรรค เพราะการขยับทุกอย่างต้องมีกฎหมายรองรับให้พร้อม จึงจะเดินหน้าปฏิรูปด้านไอทีไปให้ได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจไทย จึงประสานกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มาช่วยเหลือดูแลแก้ไขด้านกฎหมาย หารือกับกฤษฎีกาเพื่อเตรียมกฎหมายรองรับให้พร้อม กระทรวงด้านเศรษฐกิจต้องเสนอ ครม.พิจารณาว่ามีแผนงานพัฒนาอย่างไรบ้าง เพื่อให้กระทรวงด้านสังคมพัฒนาด้านเทคโนโลยีตามไปด้วย หากทุกด้านมีความพร้อมทำปีนี้ดีที่สุดจีดีพีจะดีดตามมาหากทุกด้านทำได้ดี เมื่อเครื่องยนต์มีความพร้อมจะรองรับการเลือกตั้งได้อย่างดี