ธนารักษ์ประกาศราคาประเมิน ปี61สีลมยังครองแชมป์ ตรว.ละล้าน

ธนารักษ์ประกาศราคาประเมิน 1 ม.ค.61 สูงสุดย่านสีลม 1 ล้านบาทต่อตารางวา พร้อมผลักดันโครงการลงทุนบนที่ราชพัสดุ 9 หมื่นล้านบาทในปี 61

Advertisement
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์ทำการประเมินราคาที่ดินรายแปลงครบทั้งหมด 32 ล้านแปลง เตรียมประกาศบังคับใช้เพื่อเป็นราคาอ้างอิง ตั้งแต่ 1 ม.ค.2561 ราคาปรับเพิ่มสูงสุดคือทำเลย่านสีลม ราคา 1 ล้านบาทตารางวา ต่ำสุดคือทำเลบริเวณเขตบางขุนเทียน แถวคลองโล่ง ราคา 500 บาทต่อตารางวา ส่วนในต่างจังหวัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ราคามาแรงขยับเพิ่มเป็น 4 แสนบาทต่อตารางวา บริเวณถนนประชาธิปัตย์ ส่วนราคาต่ำสุดแถวโคกเจริญ จ.ลพบุรี ราคา 90 บาทต่อราตารางวา ราคาประเมินที่ดินทั้งหมด จะใช้อ้างอิงในการจัดเก็บภาษีดินและส่ิงปลูกสร้าง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายของ สภา สนช. หลังจากเบื้องต้นกำหนดขั้นต่ำจัดเก็บภาษีจากราคาบ้านไม่เกิน 20 ได้รับการยกเว้นภาษี เร่ิมจัดเก็บในปี 62

ทั้งนี้กรรมาธิการการเงินการคลังฯสภา สนช. และกระทรวงคลังอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นและสำรวจข้อมูลจากกลุ่มต่างๆเพิ่มเติม ในการพิจารณาจัดเก็บภาษีที่ดินฯ หลังจการ่างเดิม กำหนดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตรมีเพดานภาษี 0.2% และยกเว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท จัดเก็บสัดส่วนลดลงเมื่อราคาบ้านสูงขึ้นตามสัดส่วนที่กำหนด ประเภทที่ 2 เป็นที่ดินเพื่อยู่อาศัยเพดานภาษี 0.5% เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท ราคาเกิน 20 ล้านบาทจัดเก็บ 0.05% ประเภทที่ 3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2% โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 0.3% เมื่อต้องทบทวนอัตราการจัดเก็บใหม่ จากการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพิ่มเติม เพื่อต้องการปรับสัดส่วนการจัดเก็บให้ตรงกับข้อมูลอย่างรอบด้าน

นางสาวอมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์

นางสาวอมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า แนวทางการพัฒนาที่ราชพัสดุในปี 61 วงเงินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท เพื่อต้องการผลักดันให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมหลายโครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาอาคารเชิงพาณิชย์บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต หลังจากหารือกับกฤฎีกาเรียบร้อยแล้ว ใช้เงินลงทุน 26,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 30 ปี ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เพื่อสร้างเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และยังจัดสรรพื้นที่ชดเชยคืนให้กับ บขส. จำนวนพื้นที่ 1.2 แสนตารางเมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่จอดรถมินิบัสขนาดเล็กเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารทั้งรถไฟฟ้าและรถมินิสับขนาดเล็กไปต่างจังหวัด

สำหรับการพัฒนาที่ดินบริเวณศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โครงการลงทุน 6,000 ล้านบาท ระยะเวลา 50 ปี โครงการคืบหน้าไปมากแล้ว จากเดิมมีแผนสร้างโรงแรมขนาดใหญ่แต่ติดปัญหาเรื่องความสูง จึงต้องแก้ไขสัญญาเพื่อสร้างเป็นศูนย์ประชุมเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องเสนอ ครม.พิจารณาเพิ่มเติมอีกครั้ง ในส่วนของท่าเรือสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ กรมธนารักษ์ยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้กรมเจ้าท่า ดำเนินโครงการได้ทั้งหมด เพื่อพิจารณาจัดหาผู้เช่าและบริหารท่าเรือทั้งหมด 35 ท่าเรือ หลังจากได้ปรับลดค่าเช่ารายปีลดลงร้อยละ 60-70 ดังนั้นการพัฒนาท่าเรือใดกระทรวงคมนาคมต้องเสนอ ครม.พิจารณาเป็นรายโครงการด้วยตนเองทั้งหมด

ด้านแผนลงทุนหอชมเมืองกรุงเทพฯ วงเงินลงทุน 4,600 ล้านบาท ลงทุนในรูปแบบกึ่ง PPP ขณะนี้อัยการอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างสัญญา คาดว่าจะเร่ิมลงทุนได้ในปี 61 ส่วนแผนการก่อสร้างศูนย์ราชการโซน C ขณะนี้ส่วนราชการได้ยื่นแสดงความจำนงค์ขอเช่าพื้นที่เต็มจำนวนทั้งหมดแล้ว ดัวยเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท หากรัฐวิสากิจหรือหน่วยงานอื่นต้องการเพิ่มเติม ต้องการแผนให้ ครม.พิจารณา ส่วนความคืบหน้าพัฒนาอาคารร้อยชักสาม บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามหอชมเมืองกรุงเทพฯ อายุสัญญา 36 ปี ภาคเอกชนเตรียมนำมาพัฒนาเป็นโรงแรมหรูริมแม่น้ำ ด้วยเงินลงทุน 14,000 ล้านบาท การเจรจาคืบหน้าไปมากแล้ว ต้องรอให้อัยการตรวจร่างเพิ่มเติมคาดว่าสรุปได้ในไตรมาสแรกปีหน้า นับว่าโครงการลงทุนหมดที่ต้องผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมในปี 61 มีวงเงินลงทุนประมาณ 9 หมื่นล้านบาท หวังนำที่ว่างเปล่ามาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์