ภาษีค้าขายออนไลน์เอาแน่! กลางปี 61 อธิบดีกรมสรรพากรย้ำ

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ว่าไง?  อธิบดีกรมสรรพากรย้ำเตรียมแก้กฏหมายเก็บภาษี E-Commerce อธิบดีกรมสรรพากรอ้าง เป็นไปตามสากล หวังดึงผู้ค้าเข้าระบบ  ดันเป้าภาษีรัฐ

Advertisement

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในงานสัมมนา “สำนักงานบัญชี ก้าวไปพร้อมกับกรมสรรพากร” ว่า “แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการค้าออนไลน์  ได้หารือกับสถาบันการศึกษา และเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะหากภาษีออนไลน์ในประเทศไม่แข็งแรง จะมีจุดอ่อนถูกระบบออนไลน์ต่างประเทศโจมตีจนเกิดความเสียหายได้  อย่างเช่น ปัจจุบันเร่มมีชาวจีนมาค้าขายแบบออนไลน์มากขึ้น มูลค่าการค้าผ่านออนไลน์ในปัจจุบันสูงนับแสนล้านบาท จึงต้องเร่งแก้ไขกฎหมายแบ่งออกทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การแก้ไขประมวลรัษฎากร  2.การแก้ไขเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศหากต่ำกว่า 1,500 บาทต่อรายการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อส่งทางไปรษณีย์  3.การแก้ไขหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ของนิติบุคคล เมื่อค้าขายผ่านออนไลน์

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร

ในช่วงที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ค้ารายใหญ่ E-Commerce ค้าขายในระบบออนไลน์ยอมรับว่าพร้อมเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพราะหากโฆษณาในประเทศ ซื้อขายสินค้าจากในประเทศควรเสียภาษีให้ถูกต้อง จึงต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนเพิ่มเติม คาดว่าออกกฎหมายได้ในช่วงกลางปีหน้า สำหรับการจัดเก็บรายได้ภาษีเดือนตุลาคมมียอดรายได้เกินเป้าหมาย 700 ล้านบาท ในเดือนธันวาคมอาจลดลงบ้างเพราะประชาชนชะลอการใช้จ่ายในช่วงงานพระบรมศพฯ แต่เมื่อมีมาตรการช้อบช่วยชาติเข้ามากระตุ้นการซื้อ จะเป็นแรงผลักดันให้การใช้จ่ายสูงขึ้นบ้าง จึงคาดว่าทั้งปีจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมาาย 1.928 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้เปิดเวทีรับฟังความเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….รองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)  เพื่อดำเนินการรัฐธรรมนูญมาตรา 77  นับว่าได้มีเสียงคัดค้านจำนวนมาก  จึงต้องเปิดเวทีรับฟังความเห็นในเร็วๆนี้อีกครั้ง เพื่อนำความเห็นจากหลายฝ่ายมาปรับปรุงแก้ไขให้ครอบคลุมทุกประเด็น  เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาภาษีซ้อน เพื่อแก้ไขประมวลรัษฎากร แต่ไม่ใช่การออกกฎหมายใหม่เพิ่มเติม เพราะไทยเป็นสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ร่วมกับกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ข้อตกลงความร่วมมือแบบพหุภาคีของ OECD ในรูแบบ ( BEPS:  Base erosion and profit shifting คือ การหลีกเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างและกฎเกณฑ์ทางภาษีที่ไม่สอดคล้องกันและการเคลื่อนย้ายกำไร เพื่อเสียภาษีในประเทศที่มีภาระภาษีต่ำหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างลง รวมถึงจัดสรรอำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศนั้นๆให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดมูลค่า รวมถึงหลีกเลี่ยงการกีดกันและคงความยุติธรรมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นปัญหากับหลายประเทศ