ซินเจนทาโชว์ศักยภาพพัฒนาเมล็ดพันธุ์พร้อมหนุนชาวสวนปาล์มสู่ RSPO

ซินเจนทา ร่วมแสดงนวัตกรรมพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เทรนด์ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านอาหารเอเชียแปซิฟิค ในงานประชุมวิชาการ การอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 13 พร้อมชูกิจกรรมเพื่อสังคมผนึกหน่วยงานภาครัฐ  การศึกษา เดินหน้าให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนปาล์มไทยให้ใช้สารอารักขาถูกวิธี ยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยสู่มาตรฐาน RSPO สากล

Advertisement
นายสัญญา สุชาโน  ผู้จัดการฝ่ายขายลูกค้ารายใหญ่ ผลิตภัณฑ์สารคลุกเมล็ด บริษัท ซินเจนทา ครอปโปรเทคชั่น จำกัด

นายสัญญา สุชาโน  ผู้จัดการฝ่ายขายลูกค้ารายใหญ่ ผลิตภัณฑ์สารคลุกเมล็ด บริษัท ซินเจนทา ครอปโปรเทคชั่น จำกัด เปิดเผยในงาน ประชุมเชิงวิชาการ “การอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 หรือ The 13th Nation Plant Protection Conference ว่างานประชุมครั้งนี้ มีสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย  สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร  สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย และสมาคมอารักขาพืชไทย เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ นักวิจัย นักวิชาการจากภาครัฐ และเอกชน นิสิตและนักศึกษา ได้เสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การพัฒนางานด้านวิทยาการอารักขาพืชทุกด้าน ที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรของประเทศไทยอย่าง ครบวงจร และยั่งยืน

โดย บริษัท ซินเจนทา ครอปโปรเทคชั่น จำกัด เป็นหนึ่งในองค์กรด้านธุรกิจสารอารักขาพืชและเมล็ดพันธุ์ที่ร่วมสนับสนุนการประชุมและร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เครือข่ายสมาคมฯ เสมอมา จึงได้เข้าร่วมแสดงนวัตกรรมด้านเมล็ดพันธุ์ ผ่าน Syngenta Seedcare Institute (SCI) สถาบันเทคโนโลยีอารักขาเมล็ดพันธุ์ ที่เป็นหน่วยงาน มุ่งเน้นการให้ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อารักขาพืชสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์โดยตรง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ที่ปัจจุบันนิยมใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับคลุกเมล็ด เพื่อปกป้องและเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกให้แก่เมล็ดพันธุ์มากยิ่งขึ้น ภายใต้การทำงานอย่างเป็นระบบของ Seedcare Institute (SCI) ประเทศสิงคโปร์ ให้การสนับด้านวิชาการ งานทดลอง ตลอดจนการฝึกอบรมให้แก่ ลูกค้าและหน่วยงานที่ต้องการองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเมล็ดพันธุ์ โดยมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด และเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นหลัก ในภูมิภาคอาเซียน

 

“สำหรับเป้าหมายหลักของการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทย คือการผลิตให้เพียงพอใช้ในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะไทยเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับในด้านความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์และนวัตกรรมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ในภูมิภาคอาเซียน และมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่ง Syngenta Seedcare Institute (SCI) มีเครือข่ายอยู่ในทุกภูมิภาคทั้ง 13 แห่งทั่วโลก  มีนวัตกรรมของเมล็ดพันธุ์แต่ละภูมิภาคที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้และตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรได้ ทั้งด้านการป้องกันกำจัดโรค และแมลง ที่ปัจจุบันวงจรของโรคและแมลง มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว Syngenta Seedcare Institute (SCI) จึงสามารถนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายทั้ง 13 แห่ง มาพัฒนาร่วมให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่แต่ละประเทศกำหนดมาตรฐานได้อย่างถูกต้องทันท่วงที”

 ส่วนทิศทางการวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยนั้น นายสัญญาให้ทัศนะว่า ศักยภาพของไทยสามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านเมล็ดพันธุ์ให้เป็นแถวหน้าของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้ เพราะไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพของภูมิภาคมายาวนาน มีความหลากหลายของพืชเกษตรอุตสาหกรรม เห็นได้จากมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านเมล็ดพันธุ์แนวหน้าของโลก มาตั้งฐานการผลิต สถานีทดลองวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังภูมิภาคอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ประกอบกับแนวโน้มความต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค,แมลง และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง เป็นที่ต้องการของเกษตรกรในทุกภูมิภาคยิ่งจะทำให้แนวโน้มความเติบโตของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคนี้เติบโตขึ้น จนภาครัฐได้กำหนดให้ไทยเป็น   Seed Hub ของภูมิภาค จะยิ่งทำให้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดแน่นอน

ทางด้าน ดร.เบญจรงค์  วังคะฮาด ผู้จัดการฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ประจำประเทศไทย บริษัท ซินเจนทา ครอปโปรเทคชั่น จำกัด ได้พูดถึงพันธกิจของ Syngenta Stewardship Team ว่าในงานประชุมครั้งนี้ ซินเจนทา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผลิตภัณฑ์ด้านสารอารักขาพืช และ ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรอื่นๆ ล้วนส่งผลต่อมาตรฐานการผลิตของอุตสาหกรรมเกษตรของไทย โดยในพื้นที่ภาคใต้นี้ Syngenta Stewardship Team ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา ตลอดจนวิสาหกิจชุมชนให้สอดคล้องกับภาคการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ที่มาตรฐาน RSPO หรือ Roundtable on Sustainable Palm Oil มาตรฐานการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนระดับสากล ที่เป็นสากลมีข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการรายย่อย ตลอดจน โรงงานอุตสาหกรรม ต้องผลิตน้ำมันปาล์ม อย่างถูกต้องเป็นธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งเรื่องพื้นที่ปลูกต้องถูกกฎหมาย การใช้แรงงานต้องเป็นธรรมเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ตลอดจนการใช้สารอารักขาพืชตลอดกระบวนการผลิตต้องเป็นไปตามเงื่อนไขสากล เป็นต้น

 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของ Syngenta Stewardship Team จะออกแบบให้สอดคล้องกับพืชแต่ละชนิดที่มีการใช้สารอารักพืชในกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ภาคใต้ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนของการใช้สารอารักขาพืชที่สูง ซินเจนทาได้ร่วมมือกับ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าไปให้ความรู้ด้านการใช้สารอารักขาพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย  ได้เรียนรู้เทคนิคการฉีดพ่น และการใช้อุปกรณ์การใช้งานอย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรชาวสวนปาล์ม และผู้มีอาชีพรับจ้างฉีดพ่นสารอารักขาพืชในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งซินเจนทาได้เข้าร่วมสนับสนุนมาตรฐานดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2554 โดยมีเป้าหมายให้การอบรมแก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มกว่า 2,000 คน ภายในปี 2560”

นับเป็นเฟืองสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้กับเกษตรกรไทย ตั้งแต่การพัฒนายกระดับเมล็ดพันธุ์ ร่วมกับการส่งต่อองค์ความรู้ในการใช้สารอารักขาพืช ที่บริษัท ซินเจนทาครอป โปรเทคชั่น จำกัดต้องการสร้างให้เกษตรกรไทย เติบโต เข้มแข็งอย่างยั่งยืนสร้างในที่สุดนั่นเอง