รักษาการณ์ ผอ.การท่าเรือฯ ลาออกอีก อ้างปัญหาสุขภาพ หลังคนก่อนหน้านี้ก็ลาออกด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่โดนตรวจสอบโดยหลายหน่วยงาน ขณะที่คนล่าสุดก็อ้างถึงปัญหาสุขภาพเหมือนกัน กลายเป็นเก้าอี้อาถรรพ์ประจำรัฐวิสาหกิจไทยไปอีกหนึ่งแห่ง
“ร.ต.ทรงธรรม จันทประสิทธิ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ผอ.กกท) ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการ กทท.โดยระบุว่า “ยอมรับว่าได้ยื่นหนังสือลาออกไปแล้ว และตอนนี้เรื่องนี้อยู่ที่ทางคณะกรรมการ ยืนยันว่าตนได้ลาออกจริงและเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ได้มีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องนี้ก็อยู่ที่มติคณะกรรมการ ว่าจะมีผลเมื่อไหร่ ซึ่งตนก็ได้แจ้งเป็นการส่วนตัวให้ทาง ประธานคณะกรรมการ และแจ้งไปยังผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ต้นสังกัดรับทราบแล้ว เป็นเหตุผลเรื่องของสุขภาพ โดยรอบแรกได้ยื่นเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ให้มีผลในวันที่ 2 ตุลาคม เพราะต้องการ เปิดทางให้คณะกรรมการมีเวลาในการสรรหารักษาการณ์ผอ.คนใหม่ ส่วนการลาออกนั้นจะจะมีผลเมื่อไหร่นั้นอยู่ที่ทางคณะกรรมการจะพิจารณา โดยตนจะเกษียณในเดือนตุลาคม 2561 นี้” รต.ทรงธรรม กล่าว
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ก่อนหน้านี้ เคยเกิดกรณีการลาออกของผู้บริหาร การท่าเรือฯ โดย ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือ ที่ยื่นใบลาออกโดยให้เหตุผลเรื่องของสุขภาพ และแจ้งความประสงค์จะลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 โดยให้มีผลในเดือนกรกฎาคม 2560 แต่คณะกรรมการอนุมัติทันทีให้มีผลทันที (16 มิถุนายน 2560) ซึ่งเป็นการยื่นใบลาออก และ เป็นอนุมัติการลาออกแบบกะทันหันจนเป็นที่ตั้งข้อสังเกตุ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้น หลังสำนักงานอัยการสูงสุด ชี้มูลเกี่ยวกับการทุจริตในองค์กร และคณะกรรมการ มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ร.ต.ทรงธรรม ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการ ก่อน รต.ทรงธรรมจะยื่นใบลาออกในครั้งนี้
นอกเหนือจากกรณี รักษาการณ์ผอ.การท่าเรือฯ จะลาออกในช่วงเวลาใกล้เคียงกันถึง 2 คนแล้ว ล่าสุด เกี่ยวกับการดำเนินการในโครงการสำคัญ คือ การทดลองใช้ระบบจัดการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ซึ่งยังมีการตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับปัญหาการทดลองใช้ระบบ CTMS ระบบจัดการท่าเทียบเรือตู้สินค้า มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาระบบการขนถ่ายสินค้าให้เป็นแบบ E-PORT ที่ประมูลโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และมีทดลองใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้
โดยระบบ CTMS ระบบเดิม เคยมีปัญหาร้องเรียน จากบุคลากรของการท่าเรือฯ ผ่านไปยังปปช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการตรวจสอบระบบ CTMS แบบ catos จากประเทศเกาหลีใต้ ก่อนจะมีการ ประมูลจัดซื้อระบบใหม่ CTMS แบบ การปรับปรุงพัฒนาระบบ เป็น navis (เวอร์ชั่น n 4) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการทดลองใช้ไปเมื่อปลายเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีผู้สังเกตุเห็นการจราจรของรถขนถ่ายสินค้าในท่าเรือกรุงเทพฯ เกิดปัญหาติดขัด และทางการท่าเรือฯ ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว