“ข่าวร้ายปล่อยน้ำท่วม” กรมป้องกันฯ แจงหยุดแชร์! ไม่ใช่เรื่องจริง

ปล่อยน้ำลงภาคกลางจริงหรีือไม่ ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจงด่วน “ข่าวร้ายปล่อยน้ำเข้าท่วม” ไม่ใช่เรื่องจริง

Advertisement

จากการที่มีการแชร์ข้อมูล เรื่อง “ข่าวร้ายน้ำท่วม” ในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าเป็นข้อมูลผิดพลาด และไม่เป็นความจริงทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวที่มีการแชร์ระบุว่า

      “ข่าวร้ายเรื่องน้ำ. ได้ข้อสรุปแล้ว จะปิดคลองแสนแสบดันน้ำออกให้หมด แล้วผลักน้ำจากเจ้าพระยาออกบางปะกง ผ่านคลองแสนแสบ ไม่ต้องถามซ้ำว่าท่วมมั้ย คำตอบคำเดียว “เก็บของชั้นหนึ่งซะ”  ข่าวนี้พรุ่งนี้ผู้ว่า จะแถลงเส้นทางที่แสนแสบผ่าน เรียงตามท่าจากปลายไปต้นวัดศรีบุญเรือง บางกะปิ เดอะมอลล์บางกะปิ วัดกลาง สะนมิตรมหาดไทย ม.รามคำแหง วัดเทพลีลา รามคำแหง29 เดอะมอลล์ สะพานคลองตัน ชาญอิสระ ซอยทองหล่อ สุเหร่าบ้านดอน วัดใหม่ช่องลม อิตัลไทย มศว.ประสานมิตร อโศก นานาชาติ นานาเหนือ สะพานวิทยุ สะพานชิดลม ประตูน้ำ สะพานหัวช้าง (ราชเทวี) ชุมชนบ้านครัวเหนือ สะพานเจริญผล โบ๊เบ๊ ผ่านฟ้าลีลาศ

      คนที่อยู่แถวสุขุมวิท หรือหากใกล้คลองแสนแสบให้ย้ายรถเลย เพราะคลองแสนแสบจะเป็นคลองที่ใช้ผันน้ำออกบางปะกง คนที่บ้านใกล้คลองต้องระวังมากๆ เพระเค้าจะเริ่มระบายน้ำออกไปตามคลองต่างๆ แล้ว รวมถึงพระรามหก รามคำแหง สุขุมวิท เพชรบุรี รัชดา เกษตรน่ากลัวสุด

     สำหรับวันนะ 13-16 เป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด และมีพายุเข้าจึงอันตรายมาก ส่วนวันที่ 18-20 คือวันที่ประมาณการไว้ว่าน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนต่างๆ จะมาถึง กทม. และผสมกับของเดิมอีก คิดว่าอันตรายที่สุด

    เพราะแค่เขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำจากเหนือลงมาวันละ 100 ล้าน ลบม. แต่กรุงเทพระบายน้ำออกแม่น้ำเจ้าพระยาไดมากสุดวันละ 14 ล้าน ลบม.

copy ข้อมูลมาจากพ่อเพื่อนที่เป็นอธิบดีกรมชลประทานคะ”

ประเด็นดังกล่าว ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้ออกมาชี้แจง โดยระบุดังนี้

“เรียน ผู้เกี่ยวข้อง กรณี ข่าวลือใน Social ที่อ้างว่ามีการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. เป็นต้นมา และยังปิดอยู่ ซึ่ง กรมชลประทานได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สื่อไปแล้วว่าไม่เป็นความจริง น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนเจ้าพระยา ขึ้นเพียงเล็กน้อยและมีแนวโน้มทรงตัว กระทบ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ไม่เกิน 5 เซนติเมตร

น้ำที่ท่วมที่ กทม. ขณะนี้ เกิดจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งต้องบริหารจัดการน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำฝน และกรมชลประทาน ได้เร่งสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. แล้วครับ

จึงเรียนมาเพื่อกรุณาทราบข้อเท็จจริงครับ”

ขณะที่ SBN ได้ตรวจสอบได้ยัง  รต.พงศธร ศิริสาคร ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ผอ.ศอ.ปภ.) ได้เปิดเผยว่า ข้อมูลที่มีการแชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในขณะนี้เรื่อง “ข่าวร้ายน้ำท่วม” นั้นเป็นข้อมูลที่ผิด และไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นไปตามที่กรมชลประทานได้ออกมาชี้แจงแล้วในเบื้องต้น

“ทั้งนี้จากข้อเท็จจริง หากฝนตก 100 มม. ระบบระบายน้ำของ กทม.จะใช้ เวลา 3 ชั่วโมง ใน การ ระบาย น้ำ จาก ผิว ถนน ยกเว้นในบริเวณที่ลุ่ม ที่น้ำไหลมารวมตัว จะท่วมนานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนนี้ ฝนตก ในบางพื้นที่สูงถึง 193 มม. จึงต้องใช้เวลามากในการระบายน้ำ  แต่ไม่ได้มีสภาวะน้ำท่วมมากมายอย่างที่มีผู้เขียนข่าว แล้วส่งต่อๆ กันกระจายไปใน Social Media” ขณะเดียวกันกรมชลประทานได้คาดการณ์ล่วงหน้า และได้ให้หยุดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และ สิริกิติ์ มาตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมเป็นต้นมาแล้ว  ดังนั้นจึงใคร่ขอให้ ผู้ไม่หวังดี หยุดการปล่อยข่าว ที่ทำให้เกิดความตระหนกตกใจ เกินกว่าความเป็นจริงได้แล้ว” ผอ.ศอ.ปภ.กล่าว

สำหรับข้อมูลเรื่องน้ำทะเลหนุนสูงสุดในปีนี้นั้น จะมีน้ำทะเลหนุนสูงสุดในวันที่ 16, 17, 18 ตุลาคม และ 1, 2, 3 พฤศจิกายน 2560 โดยจะทำให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าอยู่ที่ระดับ 2.10 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยในวันที่17 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2560 มีระดับที่ยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำของ กรุงเทพฯ ที่สร้างไว้ที่ 2.50 ม.

เครดิตภาพจาก https://www.facebook.com/js100radio/ และ http://www.js100.com