ปัจจุบัน หลายเมืองทั่วโลกรวมทั้งกรุงเทพมหานครฯ กำลังเผชิญกับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น โบลท์ (Bolt) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (BMA) เป็นผู้นำริเริ่มการจัดการขยะรีไซเคิลในเมือง ผ่านโครงการล่าสุด “Bolt Green Move” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดแนวทางใหม่ให้กับเมืองหลักในการจัดการขยะรีไซเคิล โดยการบูรณาการแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้าสู่ชีวิตประจำวันอย่างราบรื่น ผ่านแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีของโบลท์
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ โบลท์เปิดตัวบริการใหม่ Bolt Recycle ภายใต้บริการ Bolt Send ซึ่งเป็นบริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียวกันในประเทศไทย โดยช่วยให้ประชาชนสามารถจัดการขยะรีไซเคิลผ่านแอปโบลท์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่าย ในรัศมี 8 กิโลเมตรจากจุดรับขยะที่ทาง กทม. กำหนด
บริการ Bolt Recycle ภายใต้บริการ Bolt Send ช่วยให้ประชาชนสามารถส่งขยะรีไซเคิลที่มีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม และเป็นขยะที่สามารถส่งรีไซเคิลได้ อย่างขยะแห้งและไม่เป็นอันตราย เช่น ขวดพลาสติก โลหะ กล่องกระดาษ ไปยังจุดรับขยะที่ กทม. กำหนด ได้แก่ โรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช และ ศูนย์รวมรถพระราม 7 เขตบางซื่อ โดยบริการนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้ที่อยู่ภายในรัศมี 8 กิโลเมตรจากจุดรับขยะ สำหรับผู้ที่อยู่นอกรัศมีจะมีค่าบริการเพิ่มเติมตามระยะทางปกติ โดยโบลท์มอบส่วนลดค่าจัดส่งสูงสุด 60 บาทต่อครั้ง เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน รวมถึงมอบส่วนลด 20% สำหรับการเดินทางสองครั้งถัดไปให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่งขยะรีไซเคิลให้กับ กทม.
โครงการนี้ตอกย้ำจุดยืนของโบลท์ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้บริการการเรียกรถ แต่ยังเป็นพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่สะอาดขึ้น และเป็นต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆทั่วโลกที่กำลังมองหาวิธีแก้ไขปัญหาการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ปัญหาขยะล้นเมือง: มาตรการรับมือกับวิกฤตระดับโลกอย่างสร้างสรรค์
ด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการรีไซเคิลที่ยังไม่เพียงพอ โครงการ Bolt Green Move จึงถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง โดยเฉพาะปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดอย่างการกำจัดขยะ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มของโบลท์ร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
นายณัฐดนย์ สุขศิริฐานันท์ ผู้จัดการทั่วไปของโบลท์ ประเทศไทย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า “ยิ่งการขยายตัวของเมืองมีมากขึ้นควบคู่ไปกับความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชนเองควรมีบทบาทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีสามารถเป็นผู้นำในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ“
ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ความร่วมมือระหว่างโบลท์และกรุงเทพมหานคร (BMA) สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการปัญหาขยะ จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กรุงเทพฯ ผลิตขยะมากกว่า 3.9 ล้านตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นขยะอาหารและพลาสติก โครงการ Green Move มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมแนวปฏิบัติการจัดการขยะที่ยั่งยืน ผลักดันวิสัยทัศน์เศรษฐกิจหมุนเวียน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมวัฒนธรรมการรีไซเคิลอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง
การร่วมมือกับโบลท์ในโครงการ Green Move ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการจัดการขยะเพื่อรีไซเคิลได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้นทั่วกรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าว“โครงการนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการนำนวัตกรรมจากภาคเอกชนมาช่วยแก้ปัญหาและรับมือกับความท้าทายสาธารณะ ด้วยการนำเสนอวิธีที่สะดวกและมีประสิทธิภาพสำหรับประชาชนในการรีไซเคิล ผ่านบริการอย่าง Bolt Recycle เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในความพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยในอนาคตเรายังวางแผนขยายการกำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 50 เขต ด้วยการจัดส่งขยะรีไซเคิลไปยัง “ตู้มือวิเศษ” ที่ตั้งอยู่ภายในสำนักงานเขตต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมการจัดการขยะในทุกพื้นที่”
โบลท์ในฐานะผู้นำด้านบริการเดินทางร่วมกัน (Shared Mobility) ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ Green Move ซึ่งเป็นตัวอย่างของการมีบทบาทเชิงรุกจากภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง และส่งเสริมการสร้างแนวทางที่ยั่งยืนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนเมือง
โบลท์ยังคงขยายความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการ Green Move ต่อไป ความร่วมมือนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและมุ่งหวังสร้างเมืองที่สะอาดขึ้นปราศจากขยะ ผ่านกระบวนการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะในเมืองเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยลดมลพิษที่เกิดจากขยะและรักษาคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครอีกด้วย