กตป.-กสทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาเพื่อรวบรวมประเด็นการดำเนินงานด้านกิจการกระจายเสียง ประจำปี ๒๕๖๗

กตป.และ กสทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมการเสวนา เพื่อรวบรวมประเด็นการดำเนินงานด้านกิจการกระจายเสียง ประจำปี ๒๕๖๗ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมพีโอนี ชั้น 6 อาคารล็อบบี้ โรงแรมทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

Advertisement

โดยมี รศ.(คลีนิก) พล.อ.นพ.สายัณห์ สวัสดิ์ศรี กตป.ด้านกิจการกระจายเสียง เป็นประธานฯ พร้อมการจัดเสวนา 2 ชุดๆแรกเสวนา เรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมกระจายเสียงยุคหลอมรวม” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ รศ.ดร.สมิทธ์ บุญชุติมา วิทยากรดำเนินรายการ นายสุทนต์ กล้าการขาย สมาชิกวุฒิสภา พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียง รศ.(คลีนิก)พล.อ.นพ.สายัณห์ สวัสดิ์ศรี กตป.ด้านกิจการกระจายเสียง นส.ชนิสา ชมศิลป์ ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.พสุ แก้วปลั่ง ผู้แทนนักวิชาการ

ส่วนชุดที่ 2 เสวนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพของ กสทช. สำนักงาน กสทช.และเลขาธิการ กสทช.โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา วิทยากรดำเนินรายการ นายสุทนต์ กล้าการขาย สมาชิกวุฒิสภา พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียง รศ.(คลินิก) พล.อ.นพ.สายัณห์ สวัสดิ์ศรี กตป.ด้านกิจการกระจายเสียง และ นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมาย

สำหรับการดำเนินงานด้านกิจการกระจายเสียงของประเทศไทยในปี 2567 ให้ความสำคัญและเน้นการพัฒนา และยกระดับมาตรฐานของกิจการกระจายเสียงให้ทันสมัย และสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ) และการสนับสนุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ให้การสนับสนุน เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกิจการ กระจายเสียงประจำปี 2567 ของประเทศไทย

การที่ กสทช. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุญาตใช้คลื่น ความถี่เพื่อรองรับการทดลองออกอากาศในรูปแบบใหม่ โดยมีการกำหนดวิธีการยื่นขออนุญาตที่สะดวกและ ครบถ้วนสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อให้กระบวนการออกใบอนุญาตเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ และ ในปี2567 สื่อดิจิทัลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น กสทช. ได้จัดทำแผนการจัดสรรคลื่นความถี่และการพัฒนา กฎระเบียบใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น 5G และการสตรีมมิ่ง (streaming) ซึ่งสร้าง ความท้าทายในการกำกับดูแลและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

รวมทั้งการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ (กทปส.) ให้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง รวมถึงส่งเสริมทักษะการรู้ เท่าทันสื่อให้กับเยาวชน เพื่อให้เกิดการใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณและมีความเข้าใจในบทบาทของสื่อดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนโยบายใหม่ ๆ สะท้อนถึง การพัฒนาและการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงในประเทศไทยที่เน้นการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีและ การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมแสดงถึงความพยายามผลักดันให้การกระจายเสียงของไทยสอดคล้องกับ แนวโน้มระดับสากล รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการป้องกันปัญหา ทางด้านการผูกขาดในตลาด