กัญชา!ยาดี หรือปีศาจ..รัฐจะยกต้องคิดให้ดี

กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์มากถ้าจะปลดกัญชาจากบัญชียาเสพติดก็ควรพิจารณาดังนี้..

Advertisement

1. ควรพิจารณาปลดกัญชงออกจากบัญชียาเสพติดด้วย เพราะกัญชงไม่ใช่ยาเสพติดและไม่ใช่ญาติกัญชา แต่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำเยื่อกระดาษหรือผ้าชั้นยอด ให้ไปศึกษาโครงการทดลองกัญชงตามพระราชดำริที่ภาคเหนือดูเถิด เราสำคัญผิดเอาไปขึ้นบัญชียาเสพติดนานแล้วทั้งๆที่เสพไม่ได้

2. เร่งขึ้นทะเบียนกัญชาเป็นของไทยในทุกผลิตภัณฑ์ของกัญชารวมทั้งยารักษามะเร็ง โรคเครียดโรคซึมเศร้า และโรคพาร์คินสันและอาจ r&d เพิ่มเติมได้อีกมาก

3. แนะนำคุณโทษ การใช้ประโยชน์ และคำเตือนจากการใช้กัญชาผิดๆ รวมทั้งแนะนำสูตรอาหารและน้ำปรุงที่ใช้กัญชาได้

4. กำหนดพื้นที่ปลูกเพื่ออุตสาหกรรมยารักษามะเร็งและให้องค์การเภสัชเป็นเจ้าภาพผลิตยาขายทั่วโลกรวมทั้งฟ้องร้องให้เพิกถอนสิทธิบัตรที่ละเมิดประเทศไทย
ดีกว่าที่จะหลงผิดให้เขาหลอก
สนช ก็น่าจะเร่งพิจารณาตรากฎหมายนี้
จะช่วยชีวิตคนได้มากมาย เป็นการทำบุญใหญ่นะครับ

เราไม่ได้สนับสนุนให้มีการเสพกัญชาแบบเสรี แต่เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ที่มหาศาลของกัญชา..แน่นอนทุกสิ่งมี 2ด้านเสมอยิ่งถ้าใช้ไม่ถูกต้อง

ทุกสิ่งมี 2ด้านเสมอ..ฉะนั้นในอีกด้านหนึ่งเราจึงต้องยอมรับด้วยว่า “กัญชาคือสารเสพติด”..แน่นอนยาเสพติดย่อมมีข้อเสียเสมอ!

1. เมากัญชาแย่พอๆ กับเมาแล้วขับ เราไม่สามารถพูดได้ว่า กัญชาจะไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพในการขับรถ แต่หลังจากเสพกัญชาแล้ว ผู้เสพส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ขับรถด้วยตัวเอง

2. ทำกัญชาให้ถูกกฎหมายไม่กระทบธุรกิจค้ายา นั่นเป็นสิ่งที่พยายามทำให้รับรู้ แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แก๊งค้ายาที่มีอิทธิพลในสหรัฐ อาทิ ซินาโล และ ลอสเซตาส แพร่อิทธิพลทั้งในเม็กซิโกไปจนถึงแถบอเมริกาใต้
การทำให้การซื้อขายกัญชาเป็นไปอย่างถูกกฎหมาย จะช่วยตัดตอนรายได้ของกลุ่มอิทธิพลเหล่านี้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ท่อน้ำเลี้ยงทหารหรือนักสู้ติดอาวุธตีบตันตามไปด้วย

3. กัญชาเป็นปัจจัยทำลายสมอง ผลการทดสอบสมองของอาสาสมัครด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พบความสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างกัญชาและสมองจริง แต่ยังไม่มีตัวชี้วัดถึงขั้นว่า กัญชาเปลี่ยนสมองคนไปในทางดีหรือร้าย อย่างไรก็ดี ปริมาณกัญชาที่อาสาสมัครได้รับระหว่างการทดลองถือเป็นปริมาณค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ การศึกษายังไม่ครอบคลุมและยืนยันได้ว่า กัญชาจะมีผลในระยะยาวต่อสมองหรือไม่ อย่างไร

4. กัญชาเป็นสารเสพติด มีผู้เสพติดกัญชาร้อยละ 9 ขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ มีผู้เสพติดอยู่ที่ร้อยละ 19 และร้อยละ 24 ตามลำดับจากสัดส่วนปริมาณผู้เสพติดกัญชาเทียบกับสารเสพติดถูกกฎหมายอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ อาจอนุมานได้ว่าการใช้กัญชามีผลทำให้ผู้เสพมีอาการเสพติดได้น้อยกว่าสารเสพติดอื่นๆ นอกจากนี้ การใช้กัญชาในปริมาณมากๆ ยังห่างไกลจากอันตรายถึงชีวิตเมื่อเทียบกับ เฮโรอีน โคเคน ยาบ้า และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. ภาพลักษณ์ของคนติดกัญชา คนทั่วไปมักจะถูกฝังหัวว่าผู้ติดกัญชารวมทั้งสารเสพติดอื่นๆ จะต้องมีรูปลักษณ์ที่สังคมไม่ค่อยให้การยอมรับ ไม่ว่าเป็นเป็นรูปร่างผอมแห้งแรงน้อย ตาไม่ค่อยสู้แสงจนต้องสวมแว่นกันแดด หรือภาพลักษณ์แย่ๆ อื่นๆ แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น

เหล่าคนดังที่ออกมายอมรับว่าตนเองใช้กัญชา ไล่มาตั้งแต่ จัสติน ทิมเบอร์เลก, จอร์จ คลูนีย์, หลุยส์ ซี.เค., เลดี้กาก้า, เจนนิเฟอร์ อนิสตัน ไปจนถึง มอร์แกน ฟรีแมน

6. การเสพกัญชาจะนำไปสู่การเสพยาเสพติดที่ร้ายแรงกว่า ไม่ค่อยมีคนเรียกเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าเป็นประตูสู่ยาเสพติดอื่นๆ แต่ความเชื่อนี้มักถูกผูกโยงเข้ากับกัญชา หลายคนเชื่อว่ามันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสพยาที่ร้ายแรงกว่า หรือเป็นประตูสู่ทางเสื่อม

อย่างไรก็ดี การเสพกัญชาก็จะเป็นการเริ่มเสพยาเสพติดร้ายแรงทั้งปวงนั่นเองครับ ถ้าเรารักตัวเอง รักพ่อแม่ รักครอบครัว ก็อย่าเริ่มเสพสารเสพติดเลยครับ นอกจากเราจะทุกข์แล้ว คนอื่นก็อาจเกิดทุกข์ไปด้วยครับ เลือกเอาด้านดีออกมาใช้ แล้วอุดรอยรั่วด้านที่ร้ายๆ