JCM เสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมทางพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า ต่อคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มบริษัท JCM โดย Mr.Atli Lau Leun และ Good Innovation Corporation โดย น.ท.ดร.ภณ ทัพพินท์กร รน. ได้นำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมทางพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า ต่อคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องประชุม CB 402 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา เพื่อต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนโครงการโดยมีรายละเอียดของโครงการฯ ดังนี้
ในยุคที่การใช้พลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเป็นที่นิยมและได้รับ ความสนใจจากทั่วโลก ประเทศไทยได้วางแผนที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมทาง พลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า บริษัท Joint Capital New Energy Group Limited จากฮ่องกง ได้ร่วมมือกับบริษัท Good Innovation Corporation Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้ครอบครองอนุสิทธิ บัตรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบมอเตอร์พลวัตร (Cyclic motor generator) เลขที่ 20602 และอนุ สิทธิบัตรยานยนต์ไฟฟ้าหมุนเวียน (Renewable Electric Vehicle) เลขที่ 22602 การลงทุน ในโครงการสำคัญทั้งหมด 3 โครงการ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: การนำเสนอโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนในโครงการพลังงานใหม่และยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยการ สนับสนุนจากรัฐบาลจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนและช่วยให้ โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์:
• พัฒนาการใช้พลังงานใหม่: ส่งเสริมการใช้งานและการพัฒนายานยนต์พลังงานใหม่ใน
ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: สร้างระบบพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา: เพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนายานยนต์
พลังงานทดแทน
• ส่งเสริมเศรษฐกิจ: สร้างงานและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและ
ระดับประเทศ
• สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน: พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและสะดวกสบาย
สำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ภาพรวมโครงการ: บริษัท Joint Capital New Energy Group Limited ร่วมมือกับ Good Innovation Corporation Co., Ltd. โดยมีแผนการลงทุนในโครงการพลังงานใหม่และยาน ยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 3 โครงการในประเทศไทย รายละเอียดดังนี้:
1. โครงการพัฒนาสถานีชาร์จ EV ทั่วประเทศไทย ด้วยการจัดทำสถานีชาร์จบนทางหลวงหมายเลข 1-4 จำนวน 22 สถานี ที่เป็นลักษณะ Mini mall ที่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซุปเปอร์มาเก็ต ห้องน้ำที่สะอาด ร้านนวดสุขภาพ โรงแรมขนาด 50 ห้อง พร้อมสถานีชาร์จจำนวน 100 หัวชาร์จ DC 80% และ AC 20% โดยทำควบคู่กับ Solar Farm, Wind Energy with battery storage ที่จะจ่ายไฟฟ้าเป็นหลักให้กับสถานีชาร์จและจัดทำสถานีชาร์จย่อยในจังหวัดที่สำคัญเช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต ตั้งเป้า 300 สถานีย่อย และมีเป้าหมายจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องชาร์จ วงเงินการลงทุน 2,000 MUSD
2. โครงการศูนย์แสดงสินค้าและการค้ายานยนต์พลังงานใหม่แห่งเอเชียระดับโลก เป็น Exibition Hall สำหรับจัดแสดงและโชว์ รถยนต์ ไฟฟ้า EV ที่จัดแบบนานาชาติ ในศูนย์ประกอบด้วย Hall แสดงสินค้าและบริการ โรงแรม 5 ดาว ศูนย์บริการ ศูนย์วิจัยพัฒนารถพลังงานทางเลือก สนามทดสอบรถ ร้านอาหาร บนพื้นที่ 300 ไร่ วงเงินในการลงทุน 500 MUSD
3. โครงการทดแทนรถจักรยานยนต์เชื้อเพลิงด้วยรถจักรยานยนต์พลังงานใหม่ และสร้างโมเดลธนาคารแบตเตอรี่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนที่ใช้รถมอเตอร์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเปลี่ยนมาใช้รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า EV ที่มีระบบธนาคารแบตเตอรี่ตามจุดต่างๆ ที่ผู้ขับขี่สะดวกต่อการเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ อย่างจริงจังที่มีเป้าหมายให้เลิกใช้รถมอเตอร์ไซด์น้ำมันแล้วหันมาใช้แบบไฟฟ้าแทน โดยจัดตั้งโรงงานผลิตรถมอเตอร์ไซล์ไฟฟ้า EV วงเงินในการลงทุน 50 MUSD
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ:
1. สิ่งแวดล้อม:
• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศจากการใช้พลังงานทดแทนและ
ยานยนต์ไฟฟ้า
• ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. เศรษฐกิจ:
• กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นและระดับประเทศด้วยการสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจ
ใหม่ๆ
• ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในภาคพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า
3. เทคโนโลยีและนวัตกรรม:
• พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนายานยนต์พลังงานทดแทน
• สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
4. สังคม:
• เพิ่มความสะดวกและเข้าถึงง่ายสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
• ส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาอาชีพด้านการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า
• สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กรอบเวลาในการลงทุน: การลงทุนในโครงการทั้งหมดจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2024 และคาดว่าจะ เสร็จสิ้นในปี 2029