เรื่องเล่าคนใช้น้ำฉบับนี้ ได้เดินทางไปที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพบกับเกษตรกรกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา กับความยากลำบากที่ไม่มีแม้แต่แหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ แต่เหตุใดพวกเขาจึงสามารถทำการเกษตรได้อย่างครอบคลุมถึง 16 หมู่บ้าน
วิกฤตินั้นทำให้เกิดโอกาส
นายจักรกฤษณ์ แก่นวงศ์ ประชาสัมพันธ์กลุ่มบริหาร เล่าว่า “กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานตำบลดงน้อยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2562 จากการรวมตัวของเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งและการขาดแหล่งน้ำต้นทุน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทำให้เกษตรกรที่ได้เริ่มลงมือปลูกข้าวไปแล้วมีน้ำไม่เพียงพอกับการใช้น้ำ อีกทั้งพื้นที่นี้ยังเป็นพื้นที่สูง ลาดเอียงและเป็นพื้นที่ปลายน้ำ แต่จะบอกว่าช่วงเวลานั้นเป็นแรงบันดาลใจว่าก็ได้ เพราะวิกฤตินั้นทำให้เกิดโอกาส จึงรวมตัวกันเพื่อแก้ไขวิกฤติแล้งในปีนั้น เมื่อเกิดเป็นกลุ่ม การแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็จะอยู่ในที่ประชุม ไม่มีการตกลงกันเอง
ในปีนั้นทางกลุ่มได้ร่วมกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง ร่วมกันเปิดทางน้ำจากทางจังหวัดปราจีนบุุรี และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง เร่งรับน้ำเข้าจากทางตอนบนของโครงการที่น้ำเค็มยังหนุนขึ้นไม่ถึง พร้อมทั้งขอรับการสนับสนุนน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองสียัดอีกทางหนึ่ง และสูบน้ำจากคลองหลักเข้าคลองซอยต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรสูบน้ำเข้าพื้นที่ตนเอง โดยมีการตกลงกติกาการสูบน้ำว่าแปลงใดสูบก่อนสูบหลัง ปริมาณน้ำเท่าไร จึงได้รอดพ้นวิกฤติแล้งในปีนั้นมาได้ ในปีต่อๆ มา กลุ่มจึงได้เตรียมความพร้อมเรื่องแหล่งน้ำต้นทุน
ทางกลุ่มเริ่มทำการเก็บสถิติระดับน้ำ ประสานกับทางโครงการทำการเก็บกักน้ำช่วงปลายฤดูน้ำหลาก ในระดับที่่ไม่มีผลกระทบเสียหายกับพื้นที่่เพาะปลูก พร้อมทั้งการเปิดรับน้ำ ตามประตูู ระบายน้ำต่างๆ ของโครงการ ก่อนน้ำเค็มรุกขึ้นถึงพื้นที่่ขอรับการสนับสนุนน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ซึ่งก็ได้สัดส่วนมาบ้าง และน้ำอีกส่วน หนึ่ง คือ แผนผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกงของ ทางกรมชลประทาน แต่การอยู่ในพื้นที่่ปลายน้ำจึงทำให้ ต้องประชุมกันบ่อยครั้งเพื่อประเมินสถานการณ์ว่าน้ำจะเพียงพอหรือไม่”
ด้านนายเอ บุญชัง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง ให้ความเห็นว่า “กลุ่มดงน้อยเป็นกลุ่มที่แข็งแรงมากๆ การมีพื้นที่กลุ่มอยู่ในที่สูง กรมชลประทานจึงต้องผลักดันน้ำขึ้นไปช่วย และในปีที่น้ำแล้งเกษตรกรก็จะประสบกับปัญหาการรุกล้ำของเค็มด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เป็นหูเป็นตาให้กัน จึงทำให้วันนี้พวกเขารวมตัวกันได้อย่างเข้มแข็ง
บริหารจัดการน้ำ บริหารจัดการคน
ปัจจุบันกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานตำบลดงน้อย เกษตรกรจะทำนาปีละ 2 ครั้ง รองลงมาคือการทำบ่อกุ้งบ่อปลา และสุดท้ายคือการปลูกพืชใช้น้ำน้อย
นายจักรกฤษณ์ อธิบายว่า “ในเมื่อน้ำที่มีให้ใช้ทำการเกษตรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด และต้องประสบกับปัญหาการรุกล้ำน้ำเค็มใน แม่น้ำบางปะกง เราจึงต้องสร้างรููปแบบการบริหารจัดการนน้ำบริหารจัดการคนขึ้นมา ประการแรก คือ ศึกษาแผนการผลักดันน้ำเค็มของกรมชลประทาน
ซึ่งจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม น้ำเค็ม จะรุกขึ้นถึงพื้นที่่ประมาณเดือนมกราคม เมื่อน้ำเค็มมา ต้นทุนน้ำจืดจึงเหลือน้อย แต่เมื่อเราทราบถึงแผนของกรมชลประทานอย่าง ชัดเจน จึงสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ และต้องคำนวณถึงวันเก็บเกี่ยวในนาปีให้สัมพันธ์กับการบริหารน้ำส่วนเกินจากจังหวัด ปราจีนบุุรีออกแม่น้ำบางปะกงในช่วงน้ำหลากด้วย”
รุ่นเก่าและรุ่นใหม่
เมื่อทราบถึงแผนบริหารจัดการน้ำแล้ว ต่อไปเป็นการบริหารจัดการคน พบว่า เกษตรกร ของกลุ่มนั้นมีการผสมผสานระหว่างคน 2 ช่วงวัย ได้แก่ เกษตรกรรุ่นเก่าที่่หวงแหนในน้ำและเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจลึกซึ้งถึงคุณค่าของน้ำและที่สำคัญคือทุกครอบครัวจะมีการ ปรับแนวคิดในการใช้น้ำเพื่อให้สอดคล้องกับ ปริมาณน้ำที่มีอยู่
ยกตัวอย่าง เกษตรกรรุ่นเก่านั้นจะเน้น การทำนา แต่พวกเขาไม่ได้ทำนาแบบสมัยก่อน โดยการปล่อยให้ต้นข้าวแช่น้ำ แต่เปลี่ยนมาใช้ การทำนาแบบ “เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว” ใช้น้ำในปริมาณที่น้อยกว่าการทำนาในรูปแบบเดิม
สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ จะทำเกษตรผสม ผสาน ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน บางครอบครัวก็มีการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ หรือจะเป็นการปลูกแตงโมโดยใช้นวัตกรรมน้ำหยด รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ เพื่อลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งแต่ละวิธีล้วนใช้น้ำในปริมาณน้อยทั้งสิ้น
จากผลสัมฤทธิ์์ของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานตำบลดงน้อย แม้จะพบปัญหาการไร้แหล่งน้ำต้นทุน แต่เมื่อมีการปรับแนวคิด ปัญหาทุกอย่างก็ถูกพังทลายลง ดังนั้นสมาชิกทุกคนซึ่งต่างมีความเชื่อมั่นในข้อมูลของกลุ่ม เน้นการสร้าการรับรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร เน้นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้การบริการจัดการน้ำเกิด ประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน