ปิดทองหลังพระเพชรบุรีเปิดเวทีวิถีพอเพียงตามรอยพ่อ

สถาบันปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับ จังหวัดเพชรบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ครั้งที่ 2 สานต่องานพ่อสอน เปิดมุมมอง ความคิด ประสบการณ์ตรง 3 ชุมชนตัวอย่างบางขุนไทร บ้านในดง และบ้านน้ำทรัพย์ มุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งด้วยตนเองเพื่อครัวเรือนอยู่รอด ชุมชนอยู่ได้ พร้อมเชื่อมต่อสร้างเครือข่ายภายนอกชุมชนตามแนวประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง

Advertisement

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริกล่าวว่างาน “แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดเพชรบุรี” ทางสถาบันปิดทองหลังพระฯร่วมกับจังหวัดเพชรบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้เป็นพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกันของชาวบ้านถึงแนวทางการพัฒนา ปัญหาที่ต้องเผชิญ และวิธีการแก้ไขของชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

การสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน พัฒนาไปตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เป้าหมายหลักในการทรงงานตลอด 70 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทางปิดทองหลังพระฯ ได้น้อมนำหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริหรือศาสตร์พระราชาแปรสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน

เป้าหมายการทำงานเพื่อ “สานต่องานพ่อสอน” ส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาตนเองได้ด้วยความรู้ ภูมิปัญญา คุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นหลักการพัฒนาที่มีลำดับขั้นตอน เริ่มจากครัวเรือนพึ่งพาตนเองได้ ไปสู่ชุมชนรวมกลุ่มพึ่งตนเองได้ และเริ่มออกไปสู่ภายนอกชุมชนเพื่อเชื่อมโยงแหล่งทุน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯครั้งนี้ ได้คัดเลือกชุมชนต้นแบบที่มีประสบการณ์บริหารจัดการท้องถิ่นที่หลากหลายมุมมอง อาทิ ชุมชนบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม ซึ่งโดดเด่นในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และแหล่งทำมาหากินสร้างรายได้ เกิดการรวมตัวของคนในพื้นที่จากหลากหลายอาชีพเพื่อปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรล้ำค่าของท้องถิ่น เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดหอยแครงแหล่งใหญ่ของประเทศ อีกทั้งปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อทำนากุ้งจากนายทุนนอกพื้นที่ จึงมีการรวมตัวกันก่อตั้งเป็น “กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล” รวมตัวกันในรูปแบบอาสาสมัครช่วยกันกอบกู้วิกฤต เพื่อดูแลถิ่นฐานบ้านเกิด พื้นที่ทำกินให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

ชุมชนบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกชุมชนที่ชาวบ้านรวมกลุ่มพึ่งพากันเอง โดดเด่นในด้านการประสานงาน มีองค์การบริหารส่วนตำบลในดงเป็นผู้ประสานงานที่ดีในการนำความรู้สู่ชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ การปลูกพืชปลอดสาร การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมส่งขายร้านสะดวกซื้อที่มีชื่อเสียงและส่งออกไปต่างประเทศ โดยมีเยาวชนในพื้นที่ไปเรียนรู้การผลิตกล้วย และนำเอาความรู้มาส่งเสริมต่อยอดให้กับคนในชุมชน

ในงานนี้ยังมีอีกตัวอย่างความสำเร็จของการรวมกลุ่มชุมชนที่เข้มแข็งนั่นคือ บ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจาน ที่เริ่มต้นด้วยสภาพหมู่บ้านเขาหัวโล้นจากการปลูกข้าวโพด ธรรมชาติถูกทำลาย นำไปสู่การโยกย้ายถิ่นฐานหางานทำ เมื่อผู้นำชุมชนเห็นว่าโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เข้ามาในหมู่บ้านไม่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน จึงกระตุ้นให้คนในชุมชนร่วมกันกำหนดทิศทางพัฒนาตนเอง ทำแผนชุมชน ศึกษาปัญหา หาความรู้ กำหนดเป้าหมายโดยยึดหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาจนมาเป็นหมู่บ้านต้นแบบชุมชนเข้มแข็งให้ชุมชนอื่น ๆ มาเรียนรู้ และนำไปปรับใช้

เมื่อชุมชนพร้อมและเข้าใจแนวทางพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ได้มีการต่อยอดรวมตัวกันทำกิจกรรมอื่น ๆ พึ่งพากันเองและเชื่อมโยงในชุมชน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ เริ่มต้นด้วยยอดเงิน 6,120 บาท พัฒนาต่อมากระทั่งยกระดับขึ้นเป็นธนาคารชุมชน ปัจจุบันมียอดเงินสะสมกว่า 66 ล้านบาท ทุกบ้านมีการทำบัญชีครัวเรือนจนได้รับรางวัลชุมชนคนรักการทำบัญช