ยุทธศาสตร์ผ่าปัญหาข้าวทางออกเกษตรกรไทย

การตัดสินคดีรับจำนำข้าววันนี้ไม่ว่าผลจะเป็นอย่่งไร หรือไม่ว่าจำเลยจะน้ำหนีศาลโดยอ้างอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่จะปฏิเสธไม่ได้คือ จุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประทศ การดำเนินนโยบายสาธารณะใดๆ (รวมทั้งการับซื้อข้าวที่ 15,000 บาทต่อเกวียน) นั้น หากเกิดความผิดผลาดหรือเสียหายโดยไม่เจตนาทุจริตไม่ควรรับผิดทางอาญาแต่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง ส่วนการรับผิดทางแพ่งต้องสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบและต้องรอให้ผลกระทบ (ทั้งทางบวกทางลบ) แสดงผลอย่างชัดเจนก่อนในระยะยาว หากผิดต้องลงโทษทางแพ่ง ฉะนั้นไม่ควรด่วนสรุปขณะนี้ ต้องยึดหลักความเป็นธรรม และ หลักนิติรัฐ

Advertisement

การแทรกแซงราคาสินเค้าเกษตรจำเป็นต่อการบรรเทาปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำและความเดือดร้อนของชาวนาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แนะนำให้ใช้วิธีการแทรกแซงราคาโดยตรงด้วยการรับจำนำข้าวหรือประกันราคาจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ข้าวเปลือกราคาตกต่ำ ราคาข้าวสารที่บริโภคและราคาข้าวส่งออกไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก ส่วนต่างตรงนี้ไม่ตกถึงมือคนส่วนใหญ่ โครงสร้างตลาดไม่มีการแข่งขันดีนัก

ชี้มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรช่วยลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ข้อแนะทางนโยบายเพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำและภาคเกษตรกรรมและข้อเท็จจริงพัฒนาการนโยบายข้าวไทย

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ในฐานะ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ข้อเสนอในเรื่องนโยบายภาคเกษตรและแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำดังต่อไปนี้  

ข้อแรก ต้องมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร รวมทั้งการพลักดันให้มีการเก็บภาษีที่ดินเพื่อกระตุ้นให้นำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการผลิต  

ข้อสอง ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อ ไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน

ข้อสาม ใช้ เทคโนโลยี การบริหารจัดการความรู้ เพื่อ เพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)

ข้อสี่ เพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มสวัสดิการให้ชาวนาและเกษตรกร

ข้อห้า ทะยอยลดระดับการแทรกแซงราคาลง (แต่ต้องไม่ยกเลิกทันที) โดยนำระบบประกันภัยพืชผลและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาแทนที่ ทำให้ “ไทย” เป็นศูนย์กลางของตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของภูมิภาค

ข้อหก พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร

ข้อเจ็ด จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจจากการเปิดเสรีภายใต้WTO, FTA, AEC

ข้อแปด ส่งเสริมการขยายฐานในรูป Offshore Farmingเกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะในกลุ่ม ประเทศ CLMV

ข้อเก้า การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ ครัวของ

ข้อสิบ จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรให้มากและหลากหลายและพัฒนาไทยสู่โลก รัฐควรลดบทบาทแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าเกษตรลง ลดการบิดเบือนกลไกราคาการเป็น “ครัวของโลก” และทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยของโลก

ข้อสิบเอ็ด ทำให้ ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหลายเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นปล่อยสินเชื่อถึงเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง โรงสี หรือ บริษัทค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย บูรณาการการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรให้เป็นเอกภาพและเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร

ข้อสิบสอง นำนโยบายรับจำนำข้าวกลับมาดำเนินการจนกว่าราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้นระดับหนึ่งและยกเลิกนโยบายแจกเงินให้ชาวนาเนื่องจากเป็นมาตรการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สิ้นเปลืองและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรนอกจากบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวนาในระยะสั้นมากๆ เพราะเงิน 1,000 บาทใช้ไม่เกินสามวันก็หมดแล้ว นอกจากนี้การกำหนดมาตรการแบบนี้อยู่บนฐานคิดแบบสังคมสังเคราะห์และส่งเสริมวัฒนธรรมอุปถัมภ์อันไม่ได้ทำให้ชาวนาเข้มแข็งขึ้นในระยะยาวและยังเป็นการทำให้ประชาธิปไตยฐานรากอ่อนแอลงด้วย

นอกจากนี้เรายังต้องเตรียมตัวรับมือกับข้อตกลงการเปิดเสรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT-ทำข้อตกลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536) และข้อตกลง ATIGA ต่อข้าวไทย เช่น การปรับลดภาษี ไทยลดภาษีศุลกากรในสินค้าข้าวให้เหลือ 0% ตั้งแต่ปี 2553 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอื่นๆได้จัดข้าวอยู่ในบัญชีสินค้าที่มีการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) จึงค่อยทยอยลดภาษี

ประเด็นเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ประเด็นเรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่เราทำข้อตกลงเอาไว้เรื่องมีผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตข้าวในประเทศไทยเราจึงต้องมีมาตรการรับมือเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมข้าวและประเทศโดยรวม  

ภาพจากอินเตอร์เน็ต