เล็งกู้เพิ่ม1ล้านล้านบาท! ผู้ว่าธปท.ส่งสัญญาณถึงรัฐ พร้อมแผนถอนขนห่านรีดภาษี-VATอ้างฟื้นศก.

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธปท. cr: Bank of Thailand Scholarship Students

เอาอีกแล้วจะกู้อีกแล้วใช่มั้ย? ผู้ว่าธปท.ส่งสัญญาณให้ภาครัฐกู้เงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท อ้าง “หลุมรายได้” ช่วงโควิด พร้อมแนะแผนรีดภาษี แล้วยังจะขึ้น VAT อีก 1% หวัดลดเพดานหนี้สาธารณะ

Advertisement

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.คาดการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและลากยาวมากกว่าที่เคยประเมินเอาไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหา หลุมรายได้ขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย โดยในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งคาดว่ารายได้จากการจ้างงานจะหายไปถึง 1.8 ล้านล้านบาท จากนายจ้างและอาชีพอิสระ 1.1 ล้านล้านบาท และลูกจ้าง 7 แสนล้านบาท มองไปข้างหน้า การจ้างงานคงฟื้นตัวไม่เร็วและรายได้จากการจ้างงานในปี 2565 คาดว่าจะหายไปอีกราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งหมายถึงในปี 2563-2565 หลุมรายได้อาจมีขนาดถึง 2.6 ล้านล้านบาท

ภาพประกอบข่าวจากแฟ้ม

และด้วยขนาดของรายได้ที่จะหายไปคาดว่าเม็ดเงินของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงกระตุ้นทางการคลังเพื่อช่วยให้รายได้และฐานะทางการเงินของประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอีกลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด และลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด

โดยผู้ว่าธปท.คาดการณ์ว่า ภาครัฐจึงควรมีเม็ดเงินอยู่ในมือเพื่อเตรียมเติมเข้าระบบการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 7% ของจีดีพี โดยการกู้เงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะช่วยให้จีดีพีกลับมาโตใกล้ศักยภาพเร็วขึ้น และจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในระยะยาวปรับลดลงได้เร็วกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ได้กู้เงินเพิ่ม โดยในกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม 1 ล้านล้านบาท โดยหนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ 70% ของจีดีพีในปี 2567 และจะลดลงได้ค่อนข้างเร็วตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็ว โดยการกู้เงินเพิ่มจะต้องมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้การคลังของประเทศกลับเข้าสู่สภาะที่เข้มแข็ง

นอกจากเรื่องของการกู้เงินเพิ่มเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ผู้ว่าธปท.ยังระบุด้วยว่า เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ และเพิ่มกรอบของการทำนโยบายไว้รองรับภาระทางการคลังและความเสี่ยงในอนาคต รัฐบาลต้องมีมาตรการรัดเข็มขัดในระยะปานกลาง เพื่อให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี กลับลงมาในระยะข้างหน้า อาทิ การปฏิรูปการจัดเก็บภาษีผ่านการขยายฐานภาษี และการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ พร้อมทั้งปรับอัตราภาษีบางประเภทให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด เนื่องจากฐานภาษีและความสามารถในการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้น เช่น กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว หากรัฐบาลเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 1% จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะลดลงเพิ่มเติมได้อีกประมาณ 0.33%ต่อจีดีพี

 

 

 

 

.