การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ ซีพีออลล์จับมือ สถานศึกษา ปั้น “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน” School Development Project 4.0
เพราะการเน้นการให้ความสำคัญกับการศึกษา คือสิ่งที่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างรากฐาน เพื่อให้การศึกษาไทยแข็งแกร่ง และเป็นการศึกษาแห่งอนาคตที่จะสร้างให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ในการเติมเต็มศักยภาพให้กับสถานศึกษาและบุคลากร จึงเกิดแนวคิดภายใต้โครงการ สานอนาคตการศึกษา “CONNEXT ED CPALL” ซึ่งดำเนินการโดย คณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED CPALL และ Pim สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นเครือข่ายกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จัดสัมนาเชิงปฏิบัติการเสริมประสิทธิภาพโครงการ ผ่านการเสริมไอเดียและแนวคิดต่างๆเพื่อพัฒนาโครงการที่ได้รับคัดเลือกขึ้นเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning community center)” จาก 189 โรงเรียน 259 โครงการ ได้รับการกลั่นกรองคัดเลือกจนเหลือ 32 โรงเรียน 32 โครงการที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Best Practice) เสริมบทบาทจากการเป็นสถานศึกมาเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้คนในชุมชน สังคม ตามเป้าหมายการทำโครงการที่จะสร้างความเป็น “School Development Project 4.0” ซึ่งเป็นต้นแบบ (Model)
นายตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานโครงการฯ กล่าวถึง โครงการดังกล่าวว่า “สำหรับการดำเนินกงานสัมนาสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning community center)” สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ (Model) School Development Project 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ สานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED CPALL และ Pim สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีเป้าหมาย กลยุทธ์โครงการ(Goal & Strategy) แนวคิดการจัดการศึกษาใหม่ๆ (New Learning Management) แนวคิดเชิงธุรกิจ(Business management) การพัฒนาโครงการไปสู่ความเป็นหลักสูตรสถานศึกษา(Curriculum Developmet) อันเป็นหลักประกันความยั่งยืน 2 มิติ ในการดำเนินโครงการในอนาคตได้แก่ 1. หลักประกันรายได้เพื่อมาบริหารโครงการโดยลดการพึ่งพางบประมาณจากส่วนกลาง 2. การสร้างองค์ความรู้(Knowledge Management) รักษาและถ่ายทอดในวงกว้างในรูปของหลักสูตรท้องถิ่น ก่อนจะร่วมกันทำเวิร์คช้อบเขียนแผนเสริมประสิทธิภาพต่อยอดโครงการและนำเสนอผ่านระบบคลาวด์ Google Drive ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณ เพื่อนำไปปฏิบัติดำเนินการได้อย่างเหมาะสม” ประธานคณะทำงานโครงการฯ กล่าว
ในการดำเนินการ แต่ละโครงการของแต่ละโรงเรียนจะได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณจากคณะทำงานเพื่อไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2563 เพื่อนำผลสัมฤทธิ์ของแต่ละโครงการที่เกิดขึ้น ไปต่อยอดพัฒนา แดละเป็นต้นแบบให้กับสถานศึกษาอื่นๆ ต่อไป
อาจารย์ พิชัย พยุเวช ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทัพราชวิทยา จ.สระแก้ว หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า “สำหรับสิ่งที่ได้จากโครงการนี้ อันดับแรกเลย ได้ความรู้ในการจัดการกับผู้เรียน (นักเรียน) เพื่อให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น และยั่งยืน ผ่านแนวคิด ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ รวมถึงผลลัพท์ที่เกิดขึ้นกับครู และผู้บริหารโรงเรียน ในเรื่องของบทบาทการบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งหมดนำไปสู่ความยั่งยืนของหลักสูตร โดยเฉพาะ ความรู้จากความเกี่ยวเนื่องทั้ง 5 ด้าน ในโครงการนี้ ทีได้จาก ซีพีออลล์ สอนให้ครูรู้จักการบริหารจัดการ เรื่องของธุรกิจ และเรื่องของการนำเอาธุรกิจมาใช้สนับสนุนเสริมสร้างการศึกษา เป็นการคิดแบบเป็นระบบ

โดยโครงการของทางโรงเรียนคือโครงการผู้ประกอบการวัยเยาว์ สอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และมีระบบบริหารจัดการที่ดี รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม อาทิ เรื่องของการขายออนไลน์ ซึ่งคงต้องขอขอบคุณซีพีออลล์ ที่ได้ช่วยเติมเต็มความรู้ และเติมเต็มศักยภาพ และเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนภายใต้การสนับสนุนทุกๆ ด้าน” อาจารย์ พิชัย กล่าว
ขณะที่ น.ส. รัชนี ศรีปรางค์ school partner ผู้เข้าร่วมในโครงการ กล่าวว่า “รู้สึกตื่นเต้นที่ได้รับการคัดเลือกมากเป็น school partner โดยทาง CONNEXT ED ให้ความรู้ก่อนการลงปฏิบัติหน้างาน ทั้งเรื่องของ บุคลิกภาพ การสื่อสาร การเข้าถึงคน แม้จะมีความรู้ในส่วนนี้อยู่แล้ว แต่เมื่อได้มาเข้าร่วมโครงการและได้มาเติมเต็มศักยภาพก็ทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนตัวก็มีความมั่นใจมากขึ้น

และเมื่อลงปฏิบัติงานจริงในแต่ละพื้นที่ ก็นำเอาความรู้นี้ไปใช้ในโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการศึกษาแบบใหม่ เข้าใจในเรื่องบริบทของสถานศึกษาและชุมชน ซึ่งสามารถนำทุกส่วนมาประยุกต์ พัฒนา ต่อยอด สร้างกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ แต่ละโรงเรียน แต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี อยากขอบคุณทางซีพีออลล์ ที่ให้โอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เป็นการสร้างแนวคิดการเดินหน้าสู่อนาคต สู่ความเป็นต้นแบบเป็นการศึกษาแห่งอนาคตอย่างแท้จริง” น.ส.รัชนี กล่าว
จากศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning community center)” สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ (Model) School Development Project 4.0 ที่เกิดขึ้นท่ามกลาง วิกฤติ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อความมุ่งมั่น ที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อการเป็น “ต้นแบบ” แห่งการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ “การศึกษาไทย” เป็นประตูแห่งอนาคตของชาติต่อไป