หลังเรื่องวุ่นๆ ที่สนามบินดอนเมือง เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศ ต่อคิวรอกันวันครึ่งวัน ที่ควันยังไม่ทันจาง ว่าด้วยเรื่องวุ่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศก็ตามมาอีกทันที
หลังนักท่องเที่ยวลูกทัวร์จากประเทศแถบๆ อ่าวเปอร์เซีย ถึงกับตะลึง เมื่อใช้พาสปอร์ตแลกเปลี่ยนเงินตราไม่ได้ เพราะสถาบันการเงินอ้าง มาตรฐานการแซงชั่นของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. มีผลต่อประเทศที่ถูกคว่ำบาตร
ป่วนขนาดนี้ เป็นไงต่อ ก็ต้องไปถามแบงค์ชาติสิ ว่าเรื่องนี้เป็นจริงแค่ไหน? มีมาตรการนี้ออกมาจากธปท.จริงมั้ย? แล้วทำไมต้องมีมาตรการนี้
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ระบุว่า “เกี่ยวกับเรื่องของการแลกเปลี่ยนเงินแล้วถูกปฏิเสธ ตนยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และไม่ขอให้ความเห็นเพราะยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ทั้งนี้ก็มีมาตรการที่แต่ละธนาคารจะต้องปฏิบัติตามในเรื่องระหว่างประเทศที่มีปัญหาหรือโดนแซงชั่น กรณีอิหร่านนี้ไม่ใช่เป็นการแซงชั่นประเทศ แต่แซงชั่นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ซึ่งก็ต้องไปดูว่าบุคคลเหล่านั้นรายชื่อเขาอยู่ที่ไหน เกี่ยวข้องไหม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติที่ต้องปฏิบัติอยู่”
แม้จะตอบแบบงงๆ มึนๆ ว่ายังไม่มีรายละเอียดในเรื่องนี้ สำหรับทางแบงค์ชาติ แต่ความปั่นป่วนเดือดร้อน มันก็ได้เกิดขึ้นไปแล้ว
โดยนักท่องเที่ยวที่มากับกลุ่มทัวร์จากประเทศอิหร่าน ถูกปธิเสธรับแลกเงินตราต่างประเทศจากธนาคารที่ตั้งอยู่ในสนามบิน เรื่องนี้ยืนยันโดย ดร.เลอพงษ์ ซาร์ยีด หรือ ซัยยิดมุบาร็อก ฮูซัยนี นายกสมาคมนักเรียนเก่าไทย-อิหร่าน
พร้อมโพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัว ตำหนิมาตรการของแบงค์ชาติ หรือ ธปท.ว่า เป็นคำสั่งที่อัปยศและทำลายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอิหร่านมาตรการคว่ำบาตรในเรื่องการห้ามทำธุรกรรมการเงินกับอิหร่านในประเทศไทย ได้ทำลายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอิหร่านอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการส่งออกข้าวไทย ยางพารา น้ำตาล หรือสินค้าแปรรูปต่างๆ ที่ต้องหยุดชะงักลงถึง7 ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งส่งรองสมคิดไปจีบอิหร่านให้กลับมาเป็นลูกค้าข้าวสารและยางพาราของไทยได้สำเร็จ โดยอิหร่านจะซื้อข้าวไทย2แสนตัน และยางพารา7หมื่นตัน ซึ่งมีการส่งมอบข้าวล็อตที่หนึ่งไปแล้วหนึ่งแสนตัน และอีกหนึ่งแสนตันอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการ แต่การซื้อขายยังคงต้องทำผ่านประเทศที่สามเพื่อหาช่องทางการชำระเงินอยู่”
“แต่มาวันนี้ ความอัปยศของแบงค์ชาติทวีคูณมากขึ้น เมื่อมีคำสั่งห้ามคนอิหร่านแลกเงิน ณ ธนาคารในประเทศไทยทุกแห่ง ในขณะที่รายได้หลักของประเทศชาติมาจากการท่องเที่ยว แต่ละปีมีคนอิหร่านเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 150,000-200,000 คน มีสายการบินที่บินตรงจากอิหร่านมาไทย และการบินไทยเองก็มีเที่ยวบินตรงไปอิหร่าน หลายบริษัทได้ติดต่อมาว่า เมื่อนักท่องเที่ยวชาวอิหร่านซึ่งผ่านการตรวจคนเข้าเมือง ณ สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว และตรงเข้าไปที่หน้าเคาน์เตอร์แลกเงินของธนาคารเพื่อต้องการจะแลกเปลี่ยนเงินตรา ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการแลกเงิน
นอกจากนั้นเขายังตั้งคำถามถึงรัฐบาลไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยว่า นักท่องเที่ยวจะเดินเข้าเมืองได้อย่างไร หากถูกปฏิเสธการแลกเงิน?ในขณะที่ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอิหร่าน เรามีความร่วมมือในหลายด้านต่อกัน มีการเดินทางแลกเปลี่ยนผู้แทนระดับสูงต่อกัน แต่ดูเหมือนว่า รัฐบาลและแบงค์ชาติคงมีการดำเนินนโยบายที่สวนทางต่อกัน หากแบงค์ชาติสามารถกดดันชาวอิหร่านได้เช่นนี้ โดยที่รัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงอยากเสนอให้กระทรวงการต่างประเทศประกาศยกเลิกวีซ่าไทยสำหรับชาวอิหร่านไปเลย หรือถ้ารัฐบาลสามารถแก้ไขได้ รีบเร่งปรับทัศนคติกับผู้ว่าการแบงค์ชาติด่วน เพราะ 187 ชาติที่เป็นสมาชิกธนาคารโลก มีมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ทำธุรกรรมการเงินกับอิหร่าน และมีการค้าที่ดีต่อกัน ตลอดจนนักท่องเที่ยวอิหร่านไม่เคยประสบกับเหตุการณ์ที่น่ารังเกียจเช่นนี้ ไทยเราควรหาช่องทางหลีกเลี่ยงข้อบังคับของสหรัฐเหมือนหลายชาติในโลก ไม่ใช่รับคำบัญชาและรีบออกกฏหมายขึ้นมา ขอให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทบทวนอีกครั้ง ก่อนที่ท่านจะเสียโอกาสและเสียมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์กับไทยมาอย่างยาวนานถึง 465 ปี”
เอาละสิที่นี้ “สำนักข่าว SBN” ขยายความาสอบถามไปยังบริษัทรับจองตั๋วเครื่องบินในเมืองพัทยา ได้รับการยืนยันว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวอิหร่าน และประเทศใกล้เคียง เดินทางเข้ามาประเทศไทยปีละหลายหมื่นคน ใช้จ่ายเม็ดเงินในประเทศไทย นับพันล้านบาท เมื่อเจอมาตรการแบบนี้ถ้าจริง ก็จะสูญเสียทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว และ จำนวนเม็ดเงินในระบบของการท่องเที่ยว
พร้อมๆ กับคำถามว่า? หากมีมาตรการนี้ขึ้นมาจริงๆ จะรวมถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศ การ์ต้า รัสเซีย และ เกาหลีเหนือด้วยหรือไม่?
ถ้ารวม แล้วตัวเลขเฉพาะนักท่องเที่ยวของสามประเทศหลัก คือ การ์ต้า อิหร่าน และ รัสเซีย รวมกันแล้วมีปริมาณเท่าไหร่? กระทบเศรษฐกิจไทยมั้ย?
คำถามกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ฝากให้ภาครัฐไปพิจารณาว่า จะตอบยังไง? มาเที่ยวแต่แลกเงินไม่ได้? แล้วจะหาทางออกกันยังไง? ไทยเองก็ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เรื่องแซงชั่นเป็นเรื่องของประเทศตะวันตก เป็นเรื่องของมหาอำนาจ ประเทศเล็กๆ เอาขาเข้าไปแหย่ ก็กลัวกันว่าจะแย่หนักลงไปอีก ทุกวันนี้ยังแน่ไม่พออีกเหรอ?
คำถามสุดท้ายนี้ผู้ประกอบการทัวร์ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเขาถามมา?
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเว็บไซต์พับบลิคโพส