ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ หนุนขึ้นVATเป็น 8% เพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจฟื้นต้วอย่างเข้มแข็ง เน้นต้องปรับโครงสร้างภาษีให้มีสัดส่วนภาษีทางตรง เพื่อไม่ให้กระทบผู้มีรายได้น้อย
เป็นที่ประเด็นที่วิภาควิจารณ์กันไปทั่วในสังคมเมื่อนายกตู่ร้องถามคนไทยเสียสละได้ไหมหากจะปรับภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกร้อยล่ะ 1จากที่เคยเสียอยู่ 7%เพิ่มขึ้นเป็น 8% เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประเทศไทยอีกถึงแสนล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่เห็นถึงความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายท่านก็เห็นด้วย เพราะถึงแม้ว่ารัฐบาลจะบอกไม่ได้ถังแตก..แต่จริงๆแล้วต่างก็รู้กันอยู่ว่าสภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนี้ฝืดเคืองกันขนาดไหน!!..
แน่นอนว่าเมื่อมีผู้เห็นด้วยก็ย่อมมีผู้คัดค้าน เพราะการขึ้นภาษีถึงแม้จะเพียงแค่ 1%แต่ย่อมส่งผลกระทบกับค่าครองชีพโดยรวมแน่นอนเมื่อ 1%นั้นประชาชนจะต้องแบกรับเพราะค่าครองชีพจะต้องสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว หลายคนมองว่าถ้าจะปรับภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อคนส่วนรวมทำไม่ไม่เลือกที่จะมองภาษีคนรวยอย่างภาษีแลนด์ลอร์ด?..บางคนถึงกับมีคำพูดว่า “ประเทศไทยเสียภาษีอย่างสวิตฯ แต่คุณภาพชีวิตเหมือนซีเรีย” ซึ่งเป็นคำประชดประชันที่แสบสันมากในโลกโซเชียล
สำหรับในเรื่องนี่ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่าควรสนับสนุนการเลื่อนการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไปก่อนเพื่อประคับประคองให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง แต่ต้องปรับโครงสร้างภาษีให้มีสัดส่วนภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น หากเพิ่มภาษีทางอ้อมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและชนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มยังมีความจำเป็นเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลได้ต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปีแล้วและอาจมีความเสี่ยงทางการคลังในอนาคต
เสนอให้ปรับกรอบความยั่งยืนการทางคลังใหม่เนื่องจากไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่เคยกำหนดไว้เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่ต้องการให้จัดทำงบประมาณสมดุลในปี 2560-2561 โดยอาจเลื่อนไปให้สามารถดำเนินการให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2568-2570 โดยต้องเร่งให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามศักยภาพที่ระดับ 4-5% เป็นอย่างน้อย ปรับโครงสร้างภาษีและเพิ่มภาษีทางตรงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาษีที่มีฐานจากทรัพย์สินและภาษีบาป เพิ่มประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สามารถส่งรายได้เข้าคลังเพิ่มขึ้น แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ลดการรั่วไหลทุจริตคอร์รัปชั่น
เสนอปฏิรูประบบการคลังโดยปฏิรูปกรมจัดเก็บภาษีใหม่ ไม่จัดสรรงบประมาณให้กรมจัดเก็บแต่ให้มีรายได้จากผลงานการจัดเก็บภาษี
หากไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้สูงขึ้น ไม่หาทางเก็บภาษีเพิ่มหรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปล่อยให้ภาวการณ์ขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะเกิดความเสี่ยงทางการคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ดีในฝั่งรัฐบาลเองรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้มีแนวคิดดังกล่าวเลย ด้วยสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจยังไม่พร้อมปรับขึ้นภาษี เพราะอยู่ในช่วงฟื้นตัว และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะขึ้นช่วงนี้ เพราะยังมีช่องว่างด้านการคลัง สัดส่วนหนี้การคลังต่อจีดีพีไทยอยู่ที่ 44% เท่านั้น เทียบกับประเทศอื่นเกิน 100% ทั้งญี่ปุ่น อเมริกา แม้รัฐบาลไม่มีแผนจะขึ้นภาษี แต่ไม่ทำให้ถังแตก ที่มีโครงการร่วมทุน PPP ชี้ให้เห็นว่ารัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน
สำหรับการปฏิรูปภาษีเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ทั้งการปรับภาษีทางตรงและทางอ้อมและจะต้องกำหนดในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันยังไม่ขึ้น เพราะภาษี VAT เป็นภาษีทางอ้อม หมายถึงคนรวยคนจนเสียภาษีเท่ากัน ซึ่งถ้าจะเพิ่มก็จะต้องมีมาตรการเยียวยาคนจน
ถึงตอนนี้จะปรับไม่ปรับตอนนี้คงยังยากที่จะหาคำตอบเพราะเมื่อประเทศชาติยังมีความจำเป็นต้องใช้เงิน รัฐบาลก็ยังยืนยันว่าประเป๋ายังไม่ฉีก และประชาชนก็หาเงินแสนจะยากแต่ใช้คล่องจึงยังไม่รู้ว่าจะเอายังไงกันดีประเทศไทย