ปัจจุบัน การค้าขายในโลกโซเชี่ยล สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการ SME อีกหลายรายในต่างจังหวัด ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และกระบวนการทางตลาดในรูปแบบดิจิทัล หาก SME เหล่านั้น เข้าใจทักษะด้านนี้อย่างถ่องแท้ เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
สสว. จึงได้ร่วมกับ 5 องค์กร จัดงาน “ONLINE MARKET FEST เทศกาลสินค้าออนไลน์สบายกระเป๋า ส่งเสริมการขายในรูปแบบ O2O (online to Offline ) เปิดหน้าร้าน ให้ลูกค้าได้เข้ามาลองซื้อ ลองชมสิ และสามารถกลับไปสั่งซื้อสินค้า online ได้ ปีนี้โครงการฯ ได้พัฒนาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 99,000 ผลิตภัณฑ์, ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 49,500 ราย ตั้งเป้ามียอดจำหน่ายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 640 ล้านบาท
แน่นอนว่า ยุคดิสรัปชั่น การตั้งรับอย่างเดียวคงไม่ไหว ต้องอาศัยหลายๆ ช่องทาง เพื่อให้ตลาด SME ไทย อยู่ได้และมีความรู้ในการปรับตัวให้ SME มีรายได้ ช่องทางการขายและการตลาดเพิ่มมากขึ้น
คุณสุทธิกานต์ มาสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมประสานงานเครือข่าย ( สสว.) เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน การค้าขายในโลกโซเชี่ยล สามารถสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประกอบการ SME อีกหลายรายในต่างจังหวัดที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และกระบวนการทางตลาดในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งหาก SME เหล่านั้น เข้าใจทักษะด้านนี้อย่างถ่องแท้ เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME ทั่วประเทศให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น สสว. จึงได้ร่วมกับ 5 องค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จัดงาน “ONLINE MARKET FEST เทศกาลสินค้าออนไลน์สบายกระเป๋า” เมื่อวันที่ 12-15ที่ผ่านมา ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ปีงบประมาณ 2562 งานเดียวที่รวบรวมผู้ประกอบการจำนวน 120 รายจากทั่วประเทศ มาจำหน่ายสินค้า รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการขายในรูปแบบ O2O (online to Offline ) เปิดหน้าร้านเพื่อให้ SME มีช่องทางการขายและการตลาดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบางร้านมีแต่หน้าร้านออนไลน์ แต่ในงานนี้ จะเปิดหน้าร้านเพื่อขายของ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้เข้ามาลองซื้อลองชมสินค้า และสามารถกลับไปสั่งซื้อสินค้า online ได้
“กระบวนการที่ สสว. เข้ามาช่วยเหลือ SME คือ ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จะถูกแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมตามความจำเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้ประกอบการที่ยังไม่เปิดร้านค้าออนไลน์ 2) ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าออนไลน์แล้ว 3) ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะมีการเตรียมความพร้อมผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การถ่ายภาพสินค้า การจัดทำเนื้อหาสินค้า การปรับปรุงเนื้อหาสินค้า การให้คำแนะนำด้านบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ในด้านต่างๆ ตามความต้องการของตลาดออนไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการอบรมให้ความรู้ การบริหารจัดการตลาดออนไลน์ การให้คำปรึกษา การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้า”
สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบ O2O ( Online to Offline) เป็นการผสมผสานระหว่างธุรกิจจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ โดยเป็นการนำคุณภาพของออฟไลน์มาช่วยยกระดับให้กับออนไลน์ นำจุดแข็งของร้านค้าออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อกระตุ้นยอดขายและสร้างโอกาสในการเข้าถึงร้านค้าของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยจะใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและการชำระเงินออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้า ขณะเดียวกัน ร้านค้าสามารถที่จะใช้จุดแข็งที่ลูกค้าได้เลือกสัมผัส ทดลองใช้งานจริง เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว คาดว่า มีสินค้าและบริการ ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 99,000 ผลิตภัณฑ์, ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 49,500 ราย, มียอดจำหน่ายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 640 ล้านบาท
ดร.ยงยุทธ เจริญรัตน์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ฯ ดูแลโครงการมาตลอดสามปี กล่าวเสริมว่า สสว.ต้องการให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์ อยากให้ผู้ประกอบการนำสินค้าไปขายบนอีมาเก็ต ในช่วงปีแรกที่เราทำโคตรการ เราผลักดันช่วยนำสินค้าเข้าไปขายใน ช๊อปปี้ และ ลาซานด้า และหลังจากนั้นมาก็สอนวิธีการถ่ายรูป สร้างคำบรรยาย ใน2ปีแรกจะทำอย่างนี้เป็นหลัก ทำให้เขามีช่องทางในการขายออนไลน์ พอปีที่ 3 แบบเดิมที่เป็นการส่งเสริมก็ยังคงทำอยู่แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นแล้ว เราสอนเพิ่มเติมเรื่องการโฆษณาบนเฟสบุ๊คว่าทำอย่างไรว่าทำอย่างไรจะให้คนเข้าถึงและเพิ่มยอดขาย กล่าวคือเป็นการใช้เครื่องมืออย่าง เฟสบุ๊ค ให้มีประสิทธิภาพและลงลึกที่สุด
อย่างไรก็ตามภายในงานที่ผ่านมามี สินค้าไฮไลท์ที่ 5 องค์กรได้พัฒนามาเป็นสินค้าเด่นและนำมาจำหน่ายในงาน มีดังนี้ ม. เชียงใหม่ ได้แก่ Be kids cosmetic นำน้ำแร่มาเป็นส่วนประกอบหลักในเครื่องสำอาง โดยในน้ำแร่มี แคลเซียม สังกะสี แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โปแตสเซียมไบคาร์บอเนต โซเดียมซัลเฟต ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวได้อย่างดี สามารถนำพาสมุนไพรซึมเข้าผิวอย่างรวดเร็ว ม. ธรรมศาสตร์ ได้แก่ ROSERAY หวีขนหมูป่า ไม่ต้องใช้ไดร์เป่าผม ผมไม่พันกัน หวีแล้วผมเงางาม และ วีระดา ผ้าทอมือพื้นบ้านแปรรูป วิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมผ้าเพชรบูรณ์ มทร.ธัญบุรี ได้แก่ Mulberry Bangkok น้ำมัลเบอร์รี่ผสมนื้อมัลเบอร์รี่บดละเอียดในขวด รายแรกในประเทศไทย ช่วยระบาย ลดปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุและวัยทำงาน ISMED ได้แก่ ขนมโบว์ ขนมโบว์ไส้ปลา ขนมโบว์ไส้อินทผาลัม จากอิสตานา กูมัดดารียะห์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ภูมิปัญญา จ.ปัตตานี และกวินพัฒน์ ดีไซน์ จำหน่าย ผ้าปาเต๊ะ จ.ภูเก็ต