ติวเข้มผู้ตรวจมาตรฐานรถบริการฉุกเฉินเพื่อส่งต่อผู้ป่วยได้รวดเร็วและปลอดภัย

ติวเข้มผู้ตรวจมาตรฐานรถบริการฉุกเฉินเพื่อส่งต่อผู้ป่วยได้รวดเร็วและปลอดภัย

Advertisement

สพฉ.ร่วมกับ สสจ.เลย จัดเวทีติวเข้มผู้ตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมเผยมีรถที่ผ่านการรับรองแล้วกว่า 9,200 คัน เร่งขยายให้มีจำนวนรถที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งต่อและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมแนะประชาชนโหลดแอพลิเคชั่น EMS Certified ใช้ตรวจรถที่ผ่านมาตรฐานด้วยตนเองได้

ที่โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ จังหวัดอุดรธานี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ร่วมกับงานการแพทย์ฉุกเฉินและสาธารณภัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยและภาคีเครือข่ายจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า โครงการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้การรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพิ่มมากขึ้น โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จะได้ร่วมเรียนรู้ในเรื่องของข้อกฎหมายในการขอใช้ไฟสัญญาณวับวาบและการเสียงสัญญาณไซเรน และการใช้เสียงสัญญาณต่าง ๆ ที่ถูกต้อง รวมถึงเรียนรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระบบ กระบวนการการจัดการภายในของการทำงานในการตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และยังร่วมฝึกปฏิบัติในการตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วย ทั้งนี้ตลอดปีพ.ศ. 2559 ที่ผ่านมามีรถปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองแล้วกว่า 9,200 คัน โดยรถที่จะผ่านการรับรองตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินนั้นแบ่งเป็น 2 ระดับคือ 1. ระดับปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูง คือรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับชุดปฏิบัติการระดับกลางและชุดปฏิบัติการระดับสูง ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้ จะต้องเป็นรถยนต์ 4 ล้อ สำหรับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประกาศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของห้องคนขับจะต้องมีผนังกั้นแยกออกจากช่วงหลังซึ่งจัดเป็นห้องพยาบาล มีกระจกกั้นแต่สามารถสื่อสารถึงกันได้ และจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยประจำที่นั่งคนขับและที่นั่งข้างคนขับตอนหน้า 3 จุด ส่วนด้านหลังคนขับนั้นจะติดตั้งตู้เก็บเวชภัณฑ์พร้อมฝาปิดเปิด พร้อมมีเครื่องประจุไฟแบตเตอรี่อัตโนมัติในห้องคนขับและห้องพยาบาล ติดตั้งระบบปรับอากาศแยกการควบคุมแอร์ทั้งสองห้อง สามารถปรับทิศทางระดับความเย็นได้พร้อมทั้งจะต้องมีส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษาที่อยู่ด้านหลังของส่วนผู้ขับขี่จัดเป็นห้องพยาบาลให้มีพื้นที่เพียงพอ นอกจากนี้แล้วในส่วนของการจัดวางเตียงผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องลักษณะนอนราบ มีประตูปิดด้านท้าย ปิดล๊อกสนิทเมื่อมีการลำเลียงหรือขนย้ายผู้ป่วย และต้องมีพื้นที่สาหรับผู้ปฏิบัติการในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างเพียงพอด้วย และจะต้องมีการติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบ แสงแดง-น้าเงิน และเสียงสัญญาณไซเรนพร้อมอุปกรณ์ โดยการติดตั้งดังกล่าวต้องขออนุญาตอย่างถูกต้องตามประกาศและข้อกำหนดของสานักงานตำรวจแห่งชาติ

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า และในส่วนระดับที่2 ระดับปฏิบัติการการแพทย์ขั้นพื้นฐาน จะต้องเป็นยนต์ 4 ล้อสำหรับการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือกรณีนำรถกระบะบรรทุกทั่วไปมาดัดแปลงส่วนกระบะบรรทุกด้านท้ายต้องจัดให้มีหลังคาสูง หรือทำเป็นตู้คลุมบริเวณด้านท้ายและต้องทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นส่วนที่ใช้สาหรับการลำเลียงหรือขนส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน และปฏิบัติงานสาหรับผู้ปฏิบัติการ และการแบ่งส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษา ขนส่ง เคลื่อนย้าย กับส่วนผู้ขับ และสามารถสื่อสารระหว่างสองส่วนได้และส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษาที่อยู่ด้านหลังของส่วนผู้ขับขี่ก็เหมือนกับรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูง ที่จะต้องจัดให้มีพื้นที่ที่เพียงพอสำหรับการจัดวางเตียงพร้อมผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะนอนราบ มีประตูปิดล๊อคสนิท เมื่อมีการลำเลียงหรือขนย้ายผู้ป่วย และจะต้องมีพื้นที่สาหรับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างเพียงพออาทิ จัดให้มีที่นั่งพร้อมเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง สำหรับผู้ปฏิบัติการที่ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างสะดวก ความสูงของส่วนที่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาลเพียงพอความสะดวกในการปฏิบัติการ เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR ) มีประตูปิด-เปิด เพื่อขนย้ายผู้ป่วยพร้อมเตียงได้สะดวก ประตูมีระบบล๊อคที่ปลอดภัย ขณะเคลื่อนย้ายลำเลียงและ มีที่จัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบและมีความปลอดภัยจากการหลุด ร่วง ปลิว ออกจากที่จัดเก็บในกรณีที่รถมีการชนหรือกระแทกหรือพลิกคว่ำและในห้องพยาบาลต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

“นอกจากนี้แล้วการติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบจะต้องเป็นแสงแดงน้ำเงิน และเสียงสัญญาณไซเรนพร้อมอุปกรณ์ โดยจะต้องดำเนินการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามประกาศและข้อกำหนดของสานักงานตำรวจแห่งชาติ และบนหลังคารถด้านซ้ายขวา บริเวณส่วนหน้าและท้ายสุดของรถ จะต้องติดตั้งโคมไฟสปอร์ตไลต์ ที่สามารถปรับมุมสูงต่ำ และหมุนซ้ายขวาได้และบนหลังคารถด้านซ้ายขวาบริเวณส่วนหน้ารถ ส่วนกลางรถและส่วนท้ายสุดของรถ ติดตั้งไฟกระพริบรวม 6 จุด ด้านละ 3 จุดและที่สำคัญจะต้องติดสติกเกอร์รับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ตราสัญลักษณ์ ตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด และในส่วนของคุณสมบัติผู้ขับขี่ยานพาหนะฉุกเฉินนั้นจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนในระบบการแพทย์ฉุกเฉินในท้องถิ่นหรือพื้นที่นั้นและเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถตามประเภทที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้น ” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติระบุ

สำหรับหน่วยงานตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในส่วนของกรุงเทพมหานคร คือสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ในส่วนของต่างจังหวัดคือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โดยเมื่อผ่านการตรวจรับรองแล้วสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะเป็นหน่วยงานที่ออกหนังสือรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสำหรับการออกใบอนุญาตให้ใช้ไฟสัญญาณวับวาบ และเสียงสัญญาณไซเรนในส่วนของรถในกรุงเทพมหานครจะต้องไปขออนุญาตที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยื่นเอกสารที่กองบังคับการตำรวจจราจร และในส่วนของต่างจังหวัดนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้โดยต้องยื่นเอกสารที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นอกจากนี้แล้วภายในการจัดประชุมครั้งนี้ยังได้มีการนำเสนอโครงร่างประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินเรื่องหน่วยปฏิบัติการเพื่อที่จะจัดทำมาตรฐานหน่วยปฏิบัติการต่อไป

ทั้งนี้ประชาชนยังสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ด้วยว่ารถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ท่านใช้บริการได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานของสพฉ.หรือไม่ ด้วยการดาวน์โหลด แอพลิเคชั่น EMS Certified ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินว่าได้มาตรฐานด้วยตนเองได้ เพียงแค่ดาวน์โหลดแอพ EMS Certified มาไว้ในโทรศัพท์และถ่ายรูปQR-code ของรถปฏิบัติการฉุกเฉินหรือรถกู้ชีพฉุกเฉิน เพื่อนำมาสแกนในแอพพลิเคชั่นว่าได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สพฉ.หรือไม่ หรือสามารถตรวจสอบได้ด้วยการพิมพ์เลขทะเบียนรถ แล้วเลือกชื่อจังหวัดของรถคันนั้น ก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่ารถปฏิบัติการฉุกเฉินหรือรถกู้ชีพฉุกเฉินคันดังกล่าวผ่านมาตรฐานหรือไม่